หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สุขภาพ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2568)

Master of Science (Sciences of Pharmaceutical and Health-related Products)

จำนวนรับเข้าศึกษา

6

คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษา

ของหลักสูตร

2-5

ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

30,000

บาท/ภาคการศึกษา

การจัดการเรียนการสอน

วัน-เวลาราชการ

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย ชื่อเต็ม: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาการเภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สุขภาพ)
ชื่อย่อ:วท.ม. (วิทยาการเภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สุขภาพ)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม: Master of Science (Sciences of Pharmaceutical and Health-related Products)
ชื่อย่อ: M.Sc. (Sciences of Pharmaceutical and Health-related Products)


ปรัชญาของหลักสูตร

มุ่งเน้นการผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถบูรณาการและประยุกต์องค์ความรู้และเทคโนโลยี ในการสร้างสรรค์เภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สุขภาพแบบยั่งยืนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรชีวภาพ ตลอดจนวิจัยและพัฒนางานอย่างมืออาชีพ


อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • อาจารย์
  • นักวิจัยหรือนักวิชาการด้านเภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
  • ผู้ประกอบการด้านเภสัชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ/ธุรกิจส่วนตัว

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

PLO1 สร้างสรรค์ พัฒนาและแก้ปัญหางานด้านเภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สุขภาพด้วยการประยุกต์ องค์ความรู้ด้านเภสัชศาสตร์ เทคโนโลยีและทักษะการวิจัยให้ตอบสนองรูปแบบเศรษฐกิจสู่ การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG model)

PLO2 มีจริยธรรมและความรับผิดชอบในงานทั้งต่อตนเองและสังคม

PLO3 มีทักษะการทำงานเป็นทีมและความเป็นผู้ประกอบการด้านเภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สุขภาพ

PLO4 สื่อสารเชิงวิชาการอย่างถูกต้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมถึงมีทักษะในการให้และการ รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น

PLO5 มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทักษะดิจิทัล


คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

แผน 1 แบบวิชาการ (ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์)

1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต หรือปริญญาบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาอื่น หรือวิทยาศาสตรบัณฑิตจากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการ หรือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้การรับรองตามที่หลักสูตรกำหนดโดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00 จากระบบ 4.00 และมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ในวารสารวิชาการ หรือ มีการนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการ อาจได้รับการพิจารณาให้เข้าศึกษาได้เป็นการเฉพาะราย

2) หากผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อกำหนดข้อ 1) อาจได้รับการพิจารณาให้เข้าศึกษาได้ เป็นการเฉพาะราย ขึ้นกับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการเภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

แผน 1 แบบวิชาการ (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)

1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต หรือปริญญาบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาอื่น หรือวิทยาศาสตรบัณฑิตจากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการ หรือกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้การรับรองตามที่หลักสูตรกำหนดโดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.50 จากระบบ 4.00

2) หากผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อกำหนดข้อ 1) อาจได้รับการพิจารณาให้เข้าศึกษาได้เป็นการเฉพาะรายขึ้นกับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

แผน 1 แบบวิชาการ (ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์)

1) เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายของการสอบวิทยานิพนธ์ โดยคณะกรรมการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง

2) ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรือได้รับหนังสือตอบรับให้ตีพิมพ์ในวารสาร หรือสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการที่มีนักวิชาการกลั่นกรอง (Peer Review) ที่เป็นบทความฉบับเต็ม (Full Paper) ในระดับชาติอย่างน้อย 2 เรื่อง หรือในระดับนานาชาติอย่างน้อย 1 เรื่อง หรือ

3) ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์สามารถจัดทำคำขออนุสิทธิบัตรหรือคำขอ สิทธิบัตร อย่างน้อย 2 เรื่อง

แผน 1 แบบวิชาการ (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)

1) ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้รับคะแนนเฉลี่ย ไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4.00 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า

2) เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายของการสอบวิทยานิพนธ์ โดยคณะกรรมการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง

3) ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์หรือได้รับหนังสือตอบรับให้ตีพิมพ์ในวารสาร หรือสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการที่มีนักวิชาการกลั่นกรอง (Peer Review) ที่เป็นบทความฉบับเต็ม (Full Paper) ในระดับชาติ หรือในระดับนานาชาติ อย่างน้อย 1 เรื่อง หรือ

4) ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์สามารถจัดทำคำขออนุสิทธิบัตรหรือคำขอสิทธิบัตรอย่างน้อย 1 เรื่อง


การสมัครเข้าศึกษา

1. ระบบรับสมัคร https://admission.ubu.ac.th/admission/home

2. ระยะเวลาการรับสมัคร เปิดรับสมัคร จำนวน 2 ครั้ง ต่อปีการศึกษา คือ

1) ภาคการศึกษาต้น ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ของทุกปี (เริ่มเรียนเดือนมิถุนายนของทุกปี)

2) ภาคการศึกษาปลาย ประมาณเดือนกรกฎาคม-กันยายน ของทุกปี (เริ่มเรียนเดือนตุลาคมของทุกปี)

3. สอบถามรายละเอียดข้อมูลการรับสมัคร :
งานรับเข้าศึกษา กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ชั้น 1 ตึกอธิการบดีหลังเก่า มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โทรศัพท์ 0 4535 3120, 0 4535 3122 ; E-mail: entry@ubu.ac.th

4. สอบถามรายละเอียดข้อมูลหลักสูตร :
งานบัณฑิตศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โทรศัพท์ 0 4535 3625 ;
Facebook Fanpage : https://www.facebook.com/GradPharUBU ; E-mail: gradphar@ubu.ac.th