ยางน่องเครือ
ชื่อสมุนไพร | ยางน่องเครือ |
ชื่ออื่นๆ | เครือน่อง ยางน่องเครือ (อุบลราชธานี) น่อง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Strophantus caudatus (Linn.) Kurz. |
ชื่อพ้อง | Strophantus scandens |
ชื่อวงศ์ | Apocynaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น สูงได้ถึง 12 เมตร เถากลม เกลี้ยง เปลือกสีน้ำตาลแดง ไส้อ่อน ทั้งต้นมีน้ำยางสีขาวมีพิษ ใบเดี่ยว หนาเรียบ แข็ง ใหญ่และยาว เรียงตรงข้าม รูปวงรี รูปไข่กลับหรือรูปไข่ กว้าง 3-9 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม เป็นมันสีเขียวเข้ม ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวนวล 5 กลีบ ปลายแหลมยาวสีแดงเข้มเมื่อแรกบาน แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแดง ปลายกลีบสีเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงและม่วง รยางค์รูปมงกุฎสีแดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วง ผลเป็นฝักคู่ รูปทรงกระบอก ขนาดใหญ่ กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 13-30 เซนติเมตร เมื่อแก่จัดสีน้ำตาลแดง และแตกออก เมล็ดสีน้ำตาล มีขนสีขาว ปลิวไปตามลม เกิดตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป ในป่าละเมาะ ป่าแล้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ลักษณะวิสัย
เถา
เถา
ใบอ่อน
ใบอ่อน
ใบ
ใบ
ดอกตูม
ดอก
ดอก ใบ เถา
ดอก
ผลอ่อน
ผลแก่
ผลแก่แตก
ผล และ เมล็ด
เมล็ด
สรรพคุณ
ยาง มีรสเมาเบื่อเป็นพิษ บำรุงหัวใจอย่างแรง ไม่ควรนำมาใช้เอง เพราะอันตรายมาก ทางยาควรใช้แต่น้อยที่สุดจึงจะมีผลในทางดีได้ หรือใช้แก้ช็อกหมดสติ หมอโบราณกล่าวว่าใช้ยางไม้นี้ผสมทำยาพิษอาบลูกดอก ทำให้พิษแล่นเร็ว ยางจากต้น ผสมกับยาพิษชนิดอื่น เช่น พิษจากงูเห่า และสัตว์มีพิษอื่นๆมาผสมรวมกัน ทาลูกหน้าไม้ล่าสัตว์ เพราะยางไม้นี้นำพิษซึมเข้าบาดแผลอย่างรวดเร็ว แต่ก่อนรับประทานเนื้อสัตว์ให้เฉือนเอาเนื้อร้ายที่มีสีเขียวออกจนหมด จึงจะรับประทานเนื้อสัตว์นั้นได้
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/