สมัดน้อย
ชื่อสมุนไพร | สมัดน้อย |
ชื่ออื่นๆ | กะม่วง สมุยช้าง หมุยช้าง (ยะลา) กาจับลัก จี้ปุกตัวผู้ จี้ย้อย มองคอง หญ้าสาบฮิ้น (เหนือ) คอมขน สามโชก (เชียงใหม่) ฉี้ ลิ้นชี่ สาบแร้งสาบกา (จันทบุรี) ชะมุย (ชุมพร) ดอกสมัด สะแบก (อุบลราชธานี) เพี้ยฟานดง สมัดดง สมัดต้น สมัดใหญ่ (เลย) มรุยช้าง (ตรัง) มุยขาว (ประจวบคีรีขันธ์) สมุย (สุราษฎร์ธานี) หมอน้อย (อุตรดิตถ์) หมุยขน (นครศรีธรรมราช) หวด (ลำปาง) หัสคุณ (สระบุรี) สมัด สหัสคุณ หัสคุณไทย |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Micromelum minutum (Forst.f.) Wright & Arn. |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Rutaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้นขนาดเล็ก อาจสูงได้ถึง 10 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสั้นๆสีเทา ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับกัน มีใบย่อย 7-15 ใบ ใบย่อย รูปไข่ กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ปลายใบแหลมสีเขียวอ่อน เนื้อใบบาง มีต่อมน้ำมันเล็กๆ ผิวใบด้านบนเกือบเรียบหรือมีขนสั้นๆ ด้านล่างมีขนบางๆ ใบมีกลิ่นหอมเหมือนการบูร รสหอมร้อน ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยมีกลีบดอกสีเขียวอ่อน หรือสีขาวแกมเหลือง ผลเป็นแบบผลส้ม ผิวใส ฉ่ำน้ำ ออกเป็นพวงโต ผลกลมสีเขียวอ่อน มีขนปกคลุม รูปกระสวย หรือรูปไข่ มีขนาดเล็ก เมื่อสุกมีสีแดง พบตามป่าดงดิบเขา ป่าโปร่งทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ลักษณะวิสัย
ช่อดอก
ใบ และ ผลอ่อน
ดอก และ ผลอ่อน
ช่อผลสุก
ผลสุก
ผล และ เมล็ด
สรรพคุณ
ตำรายาไทย ระบุว่าเป็นยารสเผ็ดร้อน แก้หืด ขับพยาธิ แก้เสมหะและลมทั้งปวง ขับลม เมื่อนำมาใช้ร่วมกันในพิกัด “สหัสคุณทั้ง 2” คือสหัสคุณเทศ หรือสมัดใหญ่ โบราณว่า มีรสร้อน มีสรรพคุณขับลมในท้อง แก้ริดสีดวง ผอมแห้ง แก้หืดไอ ขับเลือด และขับหนองให้ตก ราก มีรสร้อน มีสรรพคุณแก้โลหิตอันข้นด้วยบุพโพ แก้ริดสีดวง ขับเลือดและหนอง พอกแผลริดสีดวงจมูก และแผลคุดทะราด ต้น มีรสร้อน มีสรรพคุณแก้ลมภายในให้กระจาย แก้ไอ ขับพยาธิไส้เดือน เปลือกต้น มีรสร้อน มีสรรพคุณแก้โลหิตในลำคอ และลำไส้ให้กระจาย ใบ มีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน มีสรรรพคุณแก้ลมอันเสียดแทง ขับลม ยอกในข้อ แก้ไข้อันผอมเหลือง และหืดไอ นำมาตำทาแก้คัน พอกประคบหรืออบไอน้ำ แก้ผื่นคันตามผิวหนัง กระจายเลือดลม ให้เดินสะดวก แก้ลมอัมพฤกษ์ อัมพาต ใบและเปลือก เป็นยารมรักษาริดสีดวงจมูก (เมื่อโดนละอองยาจะร้อนมากจนแสบจมูก) กระพี้ มีรสร้อน แก้โลหิตในลำไส้ ดอก มีกลิ่นหอม รสร้อน ฆ่าเชื้อโรค แผลเรื้อรัง มีสรรพคุณแก้เสมหะให้ตก ขับเสมหะลงสู่คูทวาร ผล มีรสเผ็ดร้อน แก้คุณอันกระทำด้วยผมให้ตกเสีย เป็นยาถ่าย ทั้งต้น บำรุงน้ำดี
ยาพื้นบ้านล้านนา ใช้ ราก ผสมรากปลาไหลเผือกฝนน้ำ ซาวข้าวกิน รักษานิ่วในไต
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
สารสกัดจากต้นมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบในสัตว์ทดลอง
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/