หนามแท่ง
ชื่อสมุนไพร | หนามแท่ง |
ชื่ออื่นๆ | เคด กะแทง (กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ) หนามเค็ด (จันทบุรี) เคล็ด (กลาง) เคล็ดทุ่ง (ใต้) แท้ง (เหนือ นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์) หนามแท่ง (เหนือ ราชบุรี นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์) ตะเคล็ด ระเวียง มะเค็ด |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Catunaregam tomentosa (Blume ex DC.)Triveng |
ชื่อพ้อง | Randia dasycarpa |
ชื่อวงศ์ | Rubiaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 4-10เมตร ลำต้นและกิ่งก้านทรงกระบอก เปลือกสีน้ำตาล กิ่งก้านมีหนามแข็ง แหลม ยาว 1-2 นิ้ว ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน กิ่งแตกออกเกือบขนานกับพื้น เมื่อต้นสูงราว 2 เมตร จะมีลักษณะยอดบิดคดไปมา คล้ายไม้บอนไซ พุ่มยอดรูปปลายตัด ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่กว้าง หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ใบมักเรียงชิดติดกันเป็นกระจุก ตามกิ่งใหญ่ ฐานใบสอบเรียว ปลายใบกลมหรือมน มีติ่งหนาม ขอบใบเรียบ มักม้วนลงเล็กน้อย แผ่นใบมีขนหนานุ่ม แผ่นใบกึ่งหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนมีสีเข้มกว่าด้านล่าง ผิวใบด้านล่างมีขนสีเทานวล เส้นแขนงใบข้างละ 6-12 เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแหชัดเจนทางด้านบน หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ เป็นรูปสามเหลี่ยม กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร ร่วงง่าย ก้านใบยาว 3-5 มิลลิเมตร มีขนสั้นหนานุ่ม ดอกเดี่ยว หรือออกกระจุกที่ปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก มี 2-6 ดอก กลีบดอกสีขาว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม กลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 8-10 แฉก รูปใบหอกกลับแกมรูปไข่ กว้าง 4-6 มิลลิเมตร ยาว 1-1.5 เซนติเมตร ปลายแหลม บิดเป็นกังหันเล็กน้อย เกสรเพศผู้ติดระหว่างแฉกกลีบดอก มีจำนวนเท่ากับแฉกกลีบดอก อับเรณูสีน้ำตาลอ่อน รูปขอบขนาน ปลายแหลม บิดเป็นกังหันเล็กน้อย เกสรเพศเมีย มีรังไข่ใต้วงกลีบ ออวุลจำนวนมาก ก้านเกสรเพศเมียหนา ยอดเกสรเพศเมียเป็น 2 แฉก ขนาดใหญ่ สีครีม กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 5-6 มิลลิเมตร มีขน ปลายแยก เป็น 8-10 แฉก รูปใบหอก ยาว 3-5 มิลลิเมตร ผลสดรูปไข่ ค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 เซนติเมตร มีเนื้อ มีขนเหมือนกำมะหยี่สีน้ำตาลปกคลุม นุ่ม เมื่อแห้งแล้ว ไม่แตก เมล็ดมีขนาดเล็ก จำนวนมาก รูปรี หรือรูปไข่แกมรูปรี ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดทนเห็นหลอดและแฉกเด่นชัด พบตามป่าเต็งรัง ป่าดิบ ป่าแล้ง ป่าละเมาะ ที่รกร้าง ป่าชายหาด หรือทุ่งหญ้า พื้นที่โล่ง พบที่ความสูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึง ประมาณ 300 เมตร ออกดอก ระหว่าง เดือน กุมภาพันธ์ ถึงเมษายน เป็นผล ระหว่าง เดือน เมษายน ถึง กรกฎาคม
ลักษณะวิสัย
ลำต้น
ใบอ่อน
ใบ
ใบ และ หนาม
ดอก
ดอก
ดอก
ดอก
ผล
ผล
ผลแก่
ผล และ เมล็ด
สรรพคุณ
ตำรายาไทย ใช้ ทั้งต้น รสเฝื่อนเล็กน้อย ปรุงยารักษาโรคเบาหวาน แก้โรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งตับ มะเร็งในกระดูก แก้วัณโรค ผลแก่ ใช้ตีกับน้ำ เป็นยาสระผม ซักผ้า เบื่อปลา
ประเทศแถบอินโดจีน ใช้ ใบ แก้ไข้ ขับปัสสาวะ
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/