บีปลากั้ง

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บีปลากั้ง

ชื่อสมุนไพร บีปลากั้ง
ชื่ออื่นๆ ดีปลากั้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phlogacanthus pulcherrimus T.Anderson.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์ Acanthaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้พุ่มสูง 50-150 ซม. ลำต้น ตั้งตรง ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน ยาว 8-16 ซม. กว้าง 3-5 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ก้านใบ ยาว 1-3 ซม. ช่อดอก แบบช่อเชิงลด ออกที่ปลายยอด ดอก สมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยง มีสีเขียว รูประฆัง ยาว 5 มม. กลีบดอก สีม่วงอมแดง เชื่อมกันเป็นรูปคนโท ส่วนหลอดกลีบพองออกด้านเดียว ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล แบบแคปซูล ยาว 2.5-3.5 ซม.เมื่อแห้งแตก เมล็ดเกิดที่ช่วงปลายของผล มีก้านตะขอดีดเมล็ด (jaculator) ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักแกล้มกับน้ำพริก

 

ลักษณะวิสัย

 

ใบ

 

ช่อดอก และ ผล

 

ช่อดอก

 

ช่อดอก  และ  ผลอ่อน

 

ผล

 

สรรพคุณ    
              ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี  ใช้ ลำต้น ต้มน้ำดื่ม ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด ยอดอ่อน มีรสขมอ่อนๆ กินเป็นอาหาร ช่วยเจริญอาหาร
              ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดมุกดาหาร ไม่ระบุส่วนที่ใช้ เป็นยาบำรุงกำลัง

 

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 0
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่