มะหากาหนัง

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

มะหากาหนัง

ชื่อสมุนไพร มะหากาหนัง
ชื่ออื่นๆ ตานขี้ม้า, มะหากาหลัง (เหนือ), นางใย, อึ่งเปาะ (อุบลราชธานี), มะดะ, คอแห้ง, กระจับนก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Euonymus cochinchinensis Pierre.
ชื่อพ้อง Euonymus similis
ชื่อวงศ์ Celastraceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง 14 เมตร เปลือกต้นบาง สีน้ำตาลครีม มีร่องแตกตามยาวแคบๆ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี ถึงรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 5-8  เซนติเมตร โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ขอบที่ปลายใบมีซี่หยักห่างๆ ผิวใบเกลี้ยง ผิวใบด้านบนเขียวเข้มเป็นมัน ไม่มีขน เส้นใบไม่ชัดเจน เส้นใบข้าง 7-11 คู่ จรดกันที่ขอบใบ ก้านใบยาว 3-8 มิลลิเมตร มีหูใบแคบๆร่วงง่าย และทิ้งรอยไว้ชัดเจน กิ่งก้านเป็นมัน สีน้ำตาลเข้ม ดอกช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบ แกนช่อยาว 3-5 เซนติเมตร ในซอกใบบนๆช่อยาวถึง 13 ซม. ก้านดอกย่อยยาว 0.4-1.2 ซม. ดอกสมมาตร ดอกย่อยจำนวนน้อย ขนาด 1.5-2.5 ซม.กลีบดอกสีเหลืองถึงชมพูแดง กลีบดอก 5 กลีบ รูปขอบขนาน ขอบกลีบจักเป็นฝอย ส่วนฐานแผ่เป็นจานกลมนูน ขนาด 3 มิลลิเมตร ก้านเกสรเพศผู้ยาว 2 มิลลิเมตร จำนวน 5 อัน ออกมาจากฐานรองดอกที่ใหญ่ รังไข่จมอยุ่ในหมอน กลีบเลี้ยงกลม ผลแห้งแตก รูปไข่กลับ ขนาด 1.5-2 เซนติเมตร สีชมพูหรือแดง รูปกระบอง มี 5 เหลี่ยม  แตกตรงกลางพูเป็น 5 เสี้ยว แต่ละเสี้ยวมี 1 เมล็ด สีดำ เป็นมัน มีเยื่อ (aril) สีส้ม หรือแดงปกคลุมที่ขั้ว

 

ลำต้น

 

ใบ และ ผล

 

ดอก

 

ผล

 

ผล

 

ผล และ เมล็ด

 

ผล และ เมล็ด

 

เมล็ด

 


สรรพคุณ    
              ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ ลำต้น เข้ายาบำรุงเลือด ต้มน้ำดื่ม ราก แช่น้ำหรือฝนน้ำ กินแก้ผิดสำแดง (กินอาหารแสลงไข้ ทำให้โรคกำเริบ อาจมีอาการท้องเสีย)  และ ราก ฝนน้ำกินแก้เมาเห็ด
              ตำรายาไทย เปลือก แช่เหล้าโรง กินก่อนอาหาร ทำให้เจริญอาหาร

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 0
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่