เกล็ดนาคราช
ชื่อสมุนไพร | เกล็ดนาคราช |
ชื่ออื่นๆ | กีบม้าลม (เชียงใหม่) เบี้ยไม้ (เหนือ) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Dischidia imbricata (Blume) Steud. |
ชื่อพ้อง | D. depressa |
ชื่อวงศ์ | Asclepiadaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุก เลื้อยเกาะอิงอาศัยอยู่บนต้นไม้อื่น ลำต้นเรียวเล็ก ลำต้นเป็นข้อ มีรากงอกออกมาตามข้อ ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ออกเป็นคู่ ตามข้อของลำต้น รูปโล่คล้ายกระทะคว่ำ กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 1.5-4 เซนติเมตร ท้องใบสีแดงคล้ำ ขอบสีเขียว ขอบใบมักเกยเล็กน้อย ผิวเนื้อใบเป็นตุ่ม เหมือนกับมีถุงลมอยู่ข้างใน อวบน้ำ ดอกช่อกระจะ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อย 1-4 ดอก ขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาวนวลหรือเหลืองอ่อน โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปไข่แกมคนโท ข้างในกลีบมีขน เกสรตัวผู้มี 5 อัน เชื่อมติดกัน ผลเป็นฝักแตกตะเข็บเดียว รูปทรงกระบอก เมล็ดจำนวนมาก สีน้ำตาล มีกระจุกขนยาวเป็นพู่สีขาวคล้ายเส้นไหม พบตามป่าเบญจพรรณทั่วไป
ลักษณะวิสัยที่พบในป่า
ลักษณะวิสัยที่พบในป่า
ลักษณะวิสัยที่พบในป่า
ราก ลำต้น และ ใบ
ราก ลำต้น และ ใบ
ลักษณะวิสัย (เกล็ดนาคราช ขึ้นร่วมกับ ต้นเกล็ดมังกร)
ลำต้น และ ใบ
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ ทั้งต้น เป็นยาเย็น แช่น้ำอาบ แก้ไข้
ตำรายาไทย ใช้ ทั้งต้น แก้อักเสบปวดบวม ทั้งต้น ใช้เป็นยาถอนพิษไข้ พิษไข้กาฬ พิษตานซาง ใช้ภายนอกแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ใบสด นำมาตำให้ละเอียด นำมาพอกบริเวณแผลพุพอง
ยาพื้นบ้านล้านนา ใช้ น้ำคั้นจากใบ ทาแก้กลากเกลื้อน
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/