ละมุดป่า

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ละมุดป่า

ชื่อสมุนไพร ละมุดป่า
ชื่ออื่นๆ เดือยไก่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Madhuca thorelii (Pierre ex Dubard) H.J.Lam
ชื่อพ้อง Dasyaulus thorelii Pierre ex Dubard, Isonandra cambodiana (Lecomte) Baehni, Madhuca cambodiana (Lecomte) H.L.Li, Madhuca kerrii Fletcher, Payena cambodiana Lecomte, Payena thorelii
ชื่อวงศ์ Sapotaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกลำต้นสีเทา แตกเป็นร่องตื้นๆตามยาว เปลือกในสีชมพูอมแดง มีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายนม ยอดอ่อนมีสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยวเรียงสลับเวียน และเรียงแบบถี่ๆใกล้ปลายกิ่ง รูปวงรีกว้าง หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร ผิวใบเรียบเป็นมัน เนื้อใบหนาและเหนียว ปลายใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบ 8-9 คู่ ก้านใบยาว 0.5-1.5 เซนติเมตร ดอกช่อกระจุก ออกตามกิ่งหรือซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 3-4 เซนติเมตร ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีขาวครีม มีกลิ่นหอม ดอกห้อยลง กลีบดอก 6 กลีบ รูปขอบขนานแคบ ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-10 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยง 4 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 2 กลีบ ผลสดรูปกระสวย ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ปลายผลเรียวยาวแหลม ผลดิบสีเขียวอ่อน ผิวเรียบ มียางสีขาวคล้ายนม ผลแก่สีเหลือง รับประทานได้ มีกลิ่นหอมคล้ายละมุด แต่ละผลมีเมล็ดมี 1-3 เมล็ด เปลือกเมล็ดแข็ง สีน้ำตาลเข้ม ทรงรี ขนาดกว้าง 0.5-1 เซนติเมตร ยาว 1.5-2 เซนติเมตร ผิวเรียบมัน เนื้อในเมล็ดสีขาว ออกดอกราวเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ติดผลราวเดือนมกราคมถึงมีนาคม

 

ลักษณะวิสัย

 

ลำต้น

 

 ใบ และผล

 

 

ดอก

 

ดอก และ ใบ

 

ดอก

 

ดอก และ ผล

 

ผล

 


สรรพคุณ    
              ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ แก่นหรือผล  ต้มน้ำดื่ม ทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ ผล มีรสฝาดช่วยสมานแผล

 

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 4
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่