ขี้เจียก

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ขี้เจียก

ชื่อสมุนไพร ขี้เจียก
ชื่ออื่นๆ ขี้เจียก (อุบลราชธานี), เครือพูทอง, ตำแยดิน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Argyreia thorelii Gagnep.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์ Convolvulaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ไม้เถาเลื้อยล้มลุก มีหัวใต้ดิน มีขนยาวสีน้ำตาลทองประปรายตามกิ่ง แผ่นใบทั้งสองด้าน หนาแน่นตามช่อดอก ใบประดับ และกลีบเลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปแถบแกมรูปใบหอก กว้าง 1.2-2.5 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบป้าน แผ่นใบค่อนข้างหนา แผ่นใบด้านล่างมีนวล เส้นแขนงใบข้างละ 7-9 เส้น ก้านใบมีขนหยาบแข็ง ก้านใบยาว 0.7-1 ซม. ดอกช่อ แบบช่อกระจุก ออกสั้นๆที่ซอกใบ ดอกย่อย 3-7 ดอก ในแต่ละช่อ ก้านช่อยาว 1-1.5 เซนติเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ใบประดับรูปใบหอก ยาว 0.8-1.2 เซนติเมตร ติดทน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปใบหอกแกมรูปแถบ ปลายแหลม มีขนหยาบแข็ง ขนาดไม่เท่ากัน กลีบคู่นอกยาว 1.8-2 เซนติเมตร 3 กลีบในสั้นกว่าเล็กน้อย กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบดอกรูปดอกเข็ม ปลายแหลม แยกเป็น 5 แฉก หลอดกลีบดอกยาว 4-5 เซนติเมตร แฉกกลีบดอกยาวประมาณ 2 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ยื่นพ้นเลยปากกลีบดอก ยาว 3.8-4 เซนติเมตร ก้านชูอับเรณูแผ่กว้างด้านโคน มีปุ่มขนาดเล็กกระจาย โคนอับเรณูรูปเงี่ยงลูกศร เรณูเป็นหนามละเอียด จานฐานดอกรูปวงแหวน รังไข่เกลี้ยง มี 2 ช่อง เกสรเพศเมียยาวเท่า ๆ เกสรเพศผู้ ยอดเกสรหยัก 2 พู ผลสดเมื่อแห้งแตก ทรงกลม มีหลายเมล็ด พบตามป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้งที่เป็นหินทราย ที่ระดับความสูง 150-650 เมตร ออกดอกราวเดือนสิงหาคมถึงกันยายน

 

ลักษณะวิสัย

 

 

ใบ และ ผล

 

 

ดอก และ ใบ

 

 

ผล และ ใบ



สรรพคุณ    
               ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ไอ รับประทานสด เป็นยาระบาย

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 0
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่