เกล็ดลิ่นน้อย
ชื่อสมุนไพร | เกล็ดลิ่นน้อย |
ชื่ออื่นๆ | เกล็ดปลาหมอ กาสามปีกกลาง(สระบุรี) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Phyllodium elegans (Lour.) Desv. |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Papilionaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูง 1-2 เมตร ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีขนสีน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยใบกลางรูปไข่กว้าง กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 4-9 เซนติเมตร ฐานใบรูปหัวใจหรือมน ปลายใบมน ขอบใบเรียบ ใบย่อยด้านข้าง กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร ยาว 2-5 เซนติเมตร มีขนนุ่มสีน้ำตาลทั้งสองด้าน มีหูใบ ดอกช่อออกแบบช่อกระจะ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง มีใบประดับลักษณะคล้ายเกล็ดปลา ประกบหุ้มไว้ 2 ใบ รูปเกือบกลม มีขนสีน้ำตาล ใบประดับย่อยรูปแถบ กลีบดอกสีขาว รูปดอกถั่ว กลีบกลาง รูปไข่กลับ กลีบคู่ข้าง รูปขอบขนาน กลีบคู่ล่าง รูปขอบขนาน เกสรเพศผู้มี 10 อัน เกสรเพศเมีย มีขน กลีบเลี้ยงสีเขียว รูประฆัง เชื่อมติดกันตรงโคน ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีขน ผลเป็นฝักแบนยาว คอดเป็นข้อๆ 3-4 ข้อ คอดเว้าบริเวณสันด้านล่าง มีขน มี 1 เมล็ดต่อ 1 ข้อ พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ออกดอกราวเดือนสิงหาคม ถึงธันวาคม
ลักษณะวิสัย
ใบ
ใบ และใบประดับ
ดอก
ดอก
ช่อผล
ช่อผล
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้าน ใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม แก้โรคตับพิการ (อาการผิดปกติของตับ) ผสมกับรากกระดูกอึ่ง รากกาสามปีกใหญ่ รากโมกมันและรากหางหมาจอก ต้มน้ำดื่ม แก้คุณไสย (มีอาการผอมแห้ง ใจสั่น บางเวลาเพ้อคลั่ง ร้องไห้)
หมอยาพื้นบ้านมุกดาหาร ใช้ ราก แก้ไอ
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/