ครามขน
ชื่อสมุนไพร | ครามขน |
ชื่ออื่นๆ | ขี้หนอนแดง (อุบลราชธานี) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Indigofera hirsuta L. |
ชื่อพ้อง | Anila hirsuta (L.) Kuntze, Indigofera ferruginea Schum. & Thonn., I. ferruginea Schumach. & Thonn., I. fusca G.Don, I. hirta Bojer, I. indica |
ชื่อวงศ์ | Leguminosae (Fabaceae)-Papilionoideae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มล้มลุก อายุปีเดียว สูงได้ถึง 1.5 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำบริเวณโคนต้น กิ่งก้านทอดเอนและมีขนสีน้ำตาลทองปกคลุมหนาแน่น ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ใบย่อย 5-9 ใบ เรียงตรงข้าม รูปวงรีถึงรูปไข่กลับ ใบย่อยปลายสุด ใบกว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตร ใบย่อยด้านข้างกว้าง 0.7-1.5 เซนติเมตร ยาว 1.5-3 เซนติเมตร ปลายใบมนกลม โคนใบรูปลิ่ม ใบย่อยมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน หูใบรูปสามเหลี่ยมแคบ ดอกช่อกระจะ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ออกเป็นช่อแน่น ตั้งขึ้น ยาว 10-20 เซนติเมตร กลีบดอกรูปดอกถั่ว มีขนนุ่มด้านนอก ดอกสีส้มแกมชมพู ขนาด 4-6 มิลลิเมตร กลีบดอก 5 กลีบ กลีบบนรูปไข่กลับ ด้านนอกมีขน กลีบข้างรูปขอบขนาน กลีบคู่ล่างเชื่อมกันคล้ายรูปท้องเรือ ก้านดอกย่อยยาวราว 1 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ 10 อัน รังไข่เกลี้ยง กลีบเลี้ยงด้านนอกมีขนสีน้ำตาล ยาว 4 มิลลิเมตร ใบประดับเรียวยาว ยาว 25 มิลลิเมตร หลุดร่วงง่าย ผลเป็นฝัก รูปทรงกระบอก กว้าง 2 มิลลิเมตร ยาว 1.5-2 เซนติเมตร มีขนสีน้ำตาลทองหนาแน่น ปลายมีติ่งยาวแหลม ผลแก่แล้วแตก เมล็ดรูปกรวย สีน้ำตาล มี 6-9 เมล็ด พบตาทุ่งหญ้าที่เปิดโล่ง หรือพื้นที่ชุ่มชื้นริมทาง ที่ระดับความสูงได้ถึง 1,500 เมตร ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคม ถึงตุลาคม
ลักษณะวิสัย
ดอก และ ใบ
ดอก
ผล
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิต หรือสับเป็นท่อนๆ วางไว้ที่ปากไหปลาร้า ป้องกันหนอนขึ้น
ตำรายาไทย ทั้งต้น ต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย เป็นยาช่วยย่อย ช่วยเจริญอาหาร