กระทุ่ม
ชื่อสมุนไพร | กระทุ่ม |
ชื่ออื่นๆ | ตับเต่าต้น ตานควาย(อุบลราชธานี) กระทุ่มหูกวาง(ราชบุรี) หูกวาง(พิษณุโลก) ตุ้มหูกวาง ตุ้มปึง ตุ้มโป่ง ตับควาย จับล่อ(เหนือ) ละลาย(นครราชสีมา) หลุมปัง(สุราษฎร์ธานี) ตับเต่าน้อย เต้าแล้ง ตองแล้ง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Neonauclea sessilifolia (Roxb.)Merr |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Rubiaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 15-30 เมตร เปลือกลำต้นสีเทา แตกเป็นร่องตามยาว แตกกิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น เปลือกรากมีสีดำอ่อนๆ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบรูปรี กว้าง 7-17 เซนติเมตร ยาว 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ หลังใบเรียบเป็นมัน ท้องใบมีขนหรือบางครั้งเกลี้ยง ก้านใบยาว 2-4 เซนติเมตร มีหูใบรูปสามเหลี่ยม ดอกออกเป็นช่อกลมแน่น ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม กลีบดอกมี 5 กลีบอัดแน่นอยู่บนแกนช่อดอก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน เกสรตัวผู้มี 5 อัน เกสรตัวเมียยาวสีขาว ผลเป็นผลรวมที่เกิดจากวงกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน รูปทรงกลม ผิวขรุขระ เมล็ดมีขนาดเล็กมาก พบตามป่าเบญจพรรณ และป่าดิบทั่วๆไป ชอบขึ้นตามที่ลุ่มต่ำแฉะทั่วไปตามป่าราบ
ลักษณะวิสัย
ใบ
ดอกตูม
ดอกตูม
ดอก
ดอก
สรรพคุณ
ตำรายาไทย ใช้ ใบและเปลือกต้น ลดความดันโลหิต ต้มน้ำกินแก้ไข้ แก้ปวดมดลูก แก้โรคลำไส้ และอมกลั้วคอแก้อาการอักเสบของเยื่อเมือกในปาก ราก ฝนหรือต้มรับประทานเป็นยาเย็นดับพิษไข้ทั้งปวง แก้ตัวร้อน ดับพิษตานซางของเด็ก ดับพิษวัณโรค ผล เป็นยาฝาดสมานแก้ท้องร่วง
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/