โกงกางเขา

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

โกงกางเขา

ชื่อสมุนไพร โกงกางเขา
ชื่ออื่นๆ ฝ่ามือผี (มหาสารคาม);โพดา (ปน);คันโซ่ (อุบลราชธานี);นางสวรรค์ นิ้วนางสวรรค์ (ใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Fagraea ceilanica Thunb.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์ Loganiaceae/Potaliaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ไม้ยืนต้น หรือไม้พุ่ม ไม่ผลัดใบ สูง 3-15 เมตร มักเกาะอาศัยบนต้นไม้อื่น มีรากอากาศคล้ายต้นไทร เปลือกต้นสีเทา บาง และเรียบ เปลือกชั้นในสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีถึงรูปขอบขนาน กว้าง 2-9 เซนติเมตร ยาว 5-23 เซนติเมตร เนื้อใบหนาและเหนียว ขอบใบเรียบ ใบแก่หนาอุ้มน้ำ เรียบเกลี้ยง  เส้นใบข้างเลือนรางมาก ก้านใบยาว 1-3.5 เซนติเมตร มีหูใบหนาเชื่อมเป็นวงแหวน หนา 1-2 มิลลิเมตร ดอกช่อเชิงลด ออกเป็นช่อสั้นๆ ที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง ขนาด 4-8 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน เชื่อมติดกันเป็นรูปปากแตร ปลายแยก 5 พู โค้งไปด้านหลัง บางครั้งปลายกลีบแตกเป็นฝอย มีกลิ่นหอม  ช่อดอกยาวถึง 8 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ 5 อัน ติดกับคอหลอดกลีบ ไม่โผล่พ้นออกมา ชั้นกลีบเลี้ยง 0.8-2.7 เซนติเมตร แยกเป็นพูป้านๆ ลึกมากกว่าครึ่งหนึ่งของชั้น ผลสด รูปทรงรีหรือรูปทรงกลม ขนาด 2.5-4.5 เซนติเมตร สีขาวหม่นแกมเขียว เป็นมัน เหนียว ปลายแหลม มีชั้นกลีบเลี้ยงติดอยู่ เมื่อสุกมีสีม่วงเข้ม ถึงดำ เกลี้ยง เนื้อผลนิ่มฉ่ำน้ำ มีเมล็ดมาก เมล็ดขนาด 3 มิลลิเมตร

 

ลักษณะวิสัย

 

ลักษณะวิสัย

 

ลำต้น

 

ใบ  และ  ดอก

 

ผล

สรรพคุณ    
             ยาพื้นบ้านอีสาน  ใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม บำรุงเลือด

 

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 0
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่