เข้าพรรษา
ชื่อสมุนไพร | เข้าพรรษา |
ชื่ออื่นๆ | กล้วยจะก่าหลวง ข่าเจ้าคุณวินิจ (ทั่วไป) ว่านสาวหลง (ภาคกลาง), เข้าพรรษา (อุบลราชธานี สระบุรี), กลางคาน |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Globba winitii C.H. Wright |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Zingiberaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นสูง 50-70 ซม. ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 5.5-20 เซนติเมตร ยาว 15-25 เซนติเมตร โคนใบรูปหัวใจแคบๆ แฉกลึก ปลายใบเรียวแหลม ใบอ่อนมีขนสีขาวเล็กๆ ปกคลุม ก้านใบยาว 5-7 ซม. ส่วนโคนแผ่เป็นกาบหุ้มซ้อนกันเป็นลำต้นเทียม ช่อดอกแบบช่อกระจะ แยกแขนงสั้นๆ ออกที่ปลายยอด กลีบดอกสีเหลือง กลีบดอกพัฒนามาจากเกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน ช่อดอกยาว 8-15 ซม. ห้อยโค้งลง ก้านช่อยาว ใบประดับรูปไข่กว้าง รูปขอบขนานหรือรูปใบหอกกลับ สีขาวอมชมพูหรือสีม่วงเข้มรองรับ ยาว 1-3 ซม. ปลายมน แหลม หรือแหลมยาว ใบประดับย่อยสีขาว แต่ละช่อแขนงมี 2-3 ดอก ใบประดับย่อยสีเดียวกับใบประดับ ขนาดเล็กกว่า กลีบเลี้ยงยาวได้ประมาณ 0.5 ซม. ปลายแยกเป็น 3 แฉก หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 1.5 ซม. กลีบดอกยาวเท่าๆ กัน ยาวประมาณ 0.5 ซม. เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันติดบนหลอดกลีบดอก รูปใบหอก ยาวเท่าๆ หลอดกลีบดอก กลีบปากติดเหนือเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันประมาณ 1 ซม. รูปสามเหลี่ยมกางออกสองข้าง ปลายแหลม เกสรเพศผู้ 1 อัน ก้านเกสรโค้งลง ยาวประมาณ 2 ซม. หุ้มก้านเกสรเพศเมีย ปลายเกสรเพศผู้แผ่รูปดาว ข้างละ 2 แฉก ก้านเกสรเพศเมียรูปเส้นด้าย ยอดเกสรรูปถ้วย ผลรูปไข่ ยาวประมาณ 0.7 ซม. มี 3 พู ตื้นๆ ผิวด้านนอกขรุขระ เมล็ด 6 เมล็ด กล้วยจะก่าหลวงเป็นพืชถิ่นเดียว และพืชหายากของไทย พบตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบเขา ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1,000 เมตร ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม
ลักษณะวิสัย
ดอก และ ใบ
ดอก และ ใบ
ดอก
ดอก และ ใบ
ดอก และ ใบ
ดอก
ผล
สรรพคุณ
กล้วยจะก่าหลวงเป็นดอกไม้สำคัญในวันเข้าพรรษา ใช้ในประเพณีตักบาตรดอกไม้ ของจังหวัดสระบุรี เหง้า นำมาใช้เป็นส่วนผสมของยาสระผม สบู่ ใช้ในการรักษาอาการคันตามผิวหนัง