เงาะป่า

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

เงาะป่า

ชื่อสมุนไพร เงาะป่า
ชื่ออื่นๆ คายข้าว (อุบลราชธานี) เงาะพวงผลกลม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Uvaria hirsuta Jack.
ชื่อพ้อง Guatteria pilosa G.Don, Uva hirsuta (Jack) Kuntze, U. pilosa (G.Don) Roxb., U. subcordata Miq., U. trichomalla
ชื่อวงศ์ Annonaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
              ไม้เถาเนื้อแข็ง ยาว 10 - 20 เมตร กิ่งอ่อนมีขนยาวรูปดาว สีน้ำตาลขึ้นหนาแน่น เปลือกลำต้นสีดำ แตกเป็นร่อง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน รูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปใบหอกกลับ กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร โคนใบกลม หยักเว้าและเบี้ยวเล็กน้อย ปลายใบเรียวแหลม ใบอ่อนหลังใบมีขน ท้องใบมีขนหยาบและแข็งรูปดาวสีน้ำตาลหนาแน่น มีมากที่เส้นกลางใบและขอบใบ เส้นแขนงใบ 12-15 คู่ ก้านใบยาว 5 มิลลิเมตร ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีแดง กว้าง 1.2 เซนติเมตร ยาว 1.5 เซนติเมตร รูปขอบขนาน เรียงเป็น 2 ชั้น ก้านดอกยาว 5 มิลลิเมตร ใบประดับ 2 ใบ รูปร่างค่อนข้างกลม ขนาด 8 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงสีเขียว กว้างและยาว 1 เซนติเมตร มีขนด้านนอกหนาแน่น เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2-2.5 เซนติเมตร ผลกลุ่ม ผลย่อยรูปทรงกลมแกมรี 10-30 ผล ผลขนาดกว้าง 2.5 เซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร ก้านช่อผลยาว 1 เซนติเมตร มีก้านผลยาว 2-3 เซนติเมตร  เปลือกมีขนยาว 0.5-1 เซนติเมตร ขนแข็ง คล้ายหนาม เหมือนผลเงาะ ผลอ่อนสีเขียวเมื่อสุกสีแดงส้ม มีเนื้อใสฉ่ำน้ำหุ้มเมล็ด รับประทานได้ มีรสเปรี้ยวอมหวาน เมล็ดแบนสีดำ ออกดอกราวเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ผลสุกราวเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม พบตามป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง

 

ลักษณะวิสัย

 

 

ใบ

 

 

กิ่งก้าน และ ขน

 

 

ผล และ ใบ

 

 

ผลอ่อน

 

 

ผลแก่

 

 

ผลสุก

 

 

ผลสุก

 

 

ผลสุก

 

 

ผลสุก

 

 

ผล และ เมล็ด

 

 

ผล และ เมล็ด


สรรพคุณ    
               ยาพื้นบ้านอีสานใช้ เปลือกต้น  ต้มน้ำดื่ม แก้กระษัยเส้น (เป็นอาการผิดปกติของสมดุลธาตุทั้งสี่ในร่างกายและเส้นเอ็น มีอาการได้หลายแบบ ส่วนใหญ่เป็นอาการอักเสบปวดเกร็งของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นในส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นขาและท้อง) แก้ปวดเมื่อย แก่นหรือเปลือกต้น แช่น้ำดื่ม บำรุงโลหิต ลำต้น เป็นยาเย็น เข้ายาบำรุงกำลัง

 

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 17
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่