ตาลปัตรฤาษี

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ตาลปัตรฤาษี

ชื่อสมุนไพร ตาลปัตรฤาษี
ชื่ออื่นๆ ผักคันจอง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) คันช้อน (นครราชสีมา) นางกวัก บัวค้วก บัวลอย ตาลปัตรยายชี บอนจีน ผักพาย ผักตบใบพาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Limnocharis flava (L.) Buchenau
ชื่อพ้อง Alisma flavum L., Damasonium flavum (L.) Mill., Limnocharis emarginata Humb. & Bonpl., L. plumieri
ชื่อวงศ์ Limnocharitaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ชอบอาศัยอยู่ในน้ำ สูง 30-50 เซนติเมตร อวบน้ำ ลำต้นเป็นเหง้าสั้นๆใต้ดิน มีไหลสั้นๆ มีน้ำยางสีขาวที่ก้านและใบ  ใบ เป็นใบเดี่ยว แตกจากโคนเป็นกระจุก เรียงเวียนซ้อนกัน  แผ่นใบแผ่รูปไข่ถึงเกือบกลม คล้ายตาลปัตร สีเขียวนวล แผ่นใบเรียบ ใบอวบน้ำ พองลม กว้าง 6-16 เซนติเมตร ยาว 10-25 เซนติเมตร โคนใบมน ปลายใบกลมหรือมน มักมีรอยเว้าตรงกลาง ขอบใบเรียบ เป็นคลื่น ก้านใบเป็นสามเหลี่ยมยาวและอวบน้ำ สีเขียวอ่อน ก้านใบยาว 12-85 ซม. บริเวณโคนแผ่เป็นปีกแคบๆ กาบยาวได้ประมาณ 20 ซม. เมื่อหักก้านใบจะมียางสีขาวซึมออกมา ดอกช่อสีเหลือง ออกเป็นช่อแบบซี่ร่ม ก้านยาว 20-70 เซนติเมตร มีดอกย่อย 7-12 ดอก ก้านดอกยาว 10-60 ซม. ก้านช่อดอกเป็นเหลี่ยมเช่นเดียวกับก้านใบ ยาว 3-7 เซนติเมตร ดอกบานขนาด 1.5-2 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ สีเขียวรูปไข่ ยาว 1.6-1.7 ซม. กลีบดอก 3 กลีบ รูปไข่หรือสามเหลี่ยมฐานกว้าง บางย่น ยาว 2-2.5 ซม. ใบประดับรูปไข่หรือรูปใบหอก ยาว 1.5-2.5 ซม. ปลายใบประดับกลมหรือเป็นกิ่งหนาม  เกสรเพศผู้มีจำนวนมากมีบางส่วนเป็นหมัน เรียงตัวกันเป็นรูปทรงกลม สั้นกว่ากลีบดอก ก้านเกสรยาวประมาณ 4.5 มม. อับเรณูยาวได้ประมาณ 0.2 ซม. คาร์เพลยาวได้ประมาณ 0.6 ซม. สีเขียวแกมเหลือง รังไข่เหนือวงกลีบ ผล เป็นผลแบบผลกลุ่ม รูปกึ่งทรงกลม กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 1-1.6 ซม. มีผลย่อยติดกันเป็นกระจุกแน่น สีน้ำตาล เมล็ดจำนวนมาก สีน้ำตาลเข้ม รูปเกือกม้า ยาว 1-1.5 มิลลิเมตร มีสันนูน พบตั้งแต่ระดับน้ำทะเล จนถึง 600-700 เมตร ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม พบตามหนองน้ำ คู คลอง ริมห้วย ที่ชื้นแฉะ และในนาข้าว

 

ลักษณะวิสัย

 

 

ดอก และ ใบ

 

 

ดอก

 

 

ดอก

 

 

ดอก


สรรพคุณ    
              ตำรายาไทย ใบ ช่วยเจริญอาหาร และป้องกันไข้หัวลม ใบอ่อน ก้านใบอ่อน ช่อดอก เป็นผักสด จิ้มกับน้ำพริก ลาบ และใช้ ทั้งต้น เป็นอาหารสัตว์ และทำปุ๋ย

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 5
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่