น้ำใจใคร
ชื่อสมุนไพร | น้ำใจใคร |
ชื่ออื่นๆ | กระเดาะ(สงขลา) กระทอก กระทอกม้า (ราชบุรี) กระทกรก (กลาง) กระดอกอก (สุพรรณบุรี) ควยเซียก (นครราชสีมา) ชักกระทอก (ประจวบคีรีขันธ์) นางจุม นางชม (เหนือ) ผักรูด (สุราษธานี) อีทก (อุบลราชธานี) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Olax psittacorum (Willd.) Vahl |
ชื่อพ้อง | Olax scandens |
ชื่อวงศ์ | Olacaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 2-3 เมตร เปลือกสีเขียวเข้ม ผิวเรียบ กิ่งก้านมีขนสั้นๆ เป็นขนละเอียดสีขาว มักมีหนามแข็งเล็กๆทั่วไป เนื้อไม้สีขาวนวล ตามกิ่งอ่อนมีขนสีขาวปกคลุม กิ่งมักห้อยลง กิ่งแก่เกือบเกลี้ยง มีหนามโค้ง ใบเดี่ยว เรียงแบบสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ฐานใบสอบถึงมน สองข้างไม่เท่ากัน ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบหนา หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบมีสีอ่อนกว่า หลังใบ และท้องใบมีขนนุ่ม แผ่นใบกึ่งหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนประปราย เมื่ออ่อนมีขนสั้นนุ่มตามเส้นกลางใบ เส้นแขนงใบข้างละ 5-8 เส้น ไม่ชัดเจน ก้านใบยาว 0.5-1 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม ดอกช่อออกเป็นกระจุกตามซอกใบ มี 1-3 ช่อ ต่อซอกใบ มีกลิ่นหอม มีขนสั้นหนาแน่น กลีบดอกสีขาว 3 กลีบ รูปแถบแกมรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ยาว 7-8 มิลลิเมตร เกลี้ยง กลีบ 2 ใน 3 กลีบ มักมีแฉกย่อยที่ปลาย ดูคล้ายมี 5 กลีบ โคนกลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5-6 แฉก ก้านชูดอกสั้น เกสรเพศผู้ 3 อัน อับเรณูรูปขอบขนาน เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน รูปไข่แคบ ปลายแยกเป็น 2 แฉก รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปไข่หรือรูปรี เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉกไม่ชัดเจน ใบประดับที่โคนก้านช่อดอกยาว 0.5-3.5 เซนติเมตร ใบประดับย่อยร่วงง่าย ยาว 2-3 มิลลิเมตร ปลายมน มีสันตามยาว มีขนสั้นนุ่ม ก้านดอกยาว 1-5 มิลลิเมตร เกลี้ยง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เป็นรูปถ้วยค่อนข้างแข็ง ปลายตัด ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ผลสด แบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปไข่ หรือกลม ขนาดกว้าง 0.6-1 เซนติเมตร ยาว 0.8-1.5 เซนติเมตร ผิวเรียบเป็นมัน โคนผลถูกห่อหุ้มด้วยกลีบเลี้ยง ประมาณ 2 ใน 3 ส่วน ปลายผลมีสีเข้มครอบเหมือนหมวกและมียอดเกสรเพศเมีย ติดคงทน จะร่วงไปเมื่อผลแก่จัดผล ผลอ่อนสีเขียวเมื่อสุกสีส้มถึงเหลือง มีเมล็ด 1 เมล็ด ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม ถึงมิถุนายน ยอดอ่อน และผลสุกรับประทานได้ พบขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าเขาทั่วไป
ลักษณะวิสัย
เปลือกต้น
ใบ และ ผล
ช่อดอก
ช่อดอก
ดอก
ผล
สรรพคุณ
ตำรายาพื้นบ้านอีสาน ใช้ เนื้อไม้ รสฝาดเฝื่อนเล็กน้อย ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย แก้พิษเมาเบื่อ หรือฝนทารักษาบาดแผล ลำต้น แก้โรคไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะขุ่นเหลือง หรือแดง มีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้) ใบ มีรสฝาดร้อน ใช้ตำสุมศีรษะ แก้หวัดคัดจมูก แก้ปวดศีรษะ ราก รสสุขุม ต้มดื่ม แก้ไข้ แก้ตัวร้อน ขับพยาธิ เปลือกต้น รสฝาดร้อน ใช้ทา รักษาแผลเน่าเปื่อย หรือต้มดื่ม บำรุงกำลัง
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/