ปอพราน
ชื่อสมุนไพร | ปอพราน |
ชื่ออื่นๆ | ขี้หมาแห้ง (สุโขทัย) ปอขี้ตุ่น (อุตรดิตถ์) ปอที (อุบลราชธานี) ปอปาน (นครราชสีมา) ปอพาน (เชียงใหม่) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Colona auriculata (Desf.) Craib |
ชื่อพ้อง | Diplophractum auriculatum |
ชื่อวงศ์ | Tiliaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร เปลือกสีน้ำตาลปนเทา ผิวเรียบ ทุกส่วนมีขนยาวปกคลุม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 7-20 ซม. ใบออกใกล้กันจนขอบใบซ้อนกัน ปลายแหลมถึงเรียวแหลมเป็นติ่ง โคนเบี้ยว และเป็นรูปติ่งหู ขอบหยักฟันเลื่อยซ้อน แผ่นใบบาง คล้ายกระดาษ ถึงกึ่งหนา คล้ายแผ่นหนัง ด้านบนมีขนสาก ด้านล่างมีขนสั้นนุ่ม หนาแน่น เส้นใบที่โคน 3 เส้น เส้นแขนงใบข้างละ 3-7 เส้น เส้นใบย่อยคล้ายขั้นบันได และเส้นใบย่อยแบบร่างแหชัดเจน ทางด้านบน ก้านใบยาวประมาณ 3 มม. มีขน หูใบรูปรีถึงสามเหลี่ยม แคบยาว โคนหูใบแผ่เป็นแผ่นรูปทรงกลม แต่ละด้านมีขนาดไม่เท่ากัน ติดทน ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกที่ซอกใบ ห้อยลงใต้กิ่ง ช่อยาว 2-3 ซม. จำนวนดอกแต่ละกระจุก 1-3 ดอก ดอกตูมรูปไข่กลับ เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ แยกจากกันเป็นอิสระ รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายแหลม ผิวด้านนอกสีเหลืองมีขนหนาแน่น ด้านในมีขนบางกว่า สีเหลืองมีจุดเล็กสีแดงประปราย กลีบดอก 5 กลีบ แยกจากกันเป็นอิสระ กลีบดอกสีเหลืองสด มีจุดประสีส้มแกมน้ำตาล กลีบรูปช้อน กว้าง 2-3 มม. ยาว 8-9 มม. ปลายมน มีขนปกคลุมยาว เป็นมัน เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณู สีขาวอมเหลือง เกลี้ยง อับเรณูสีเหลืองอ่อน รังไข่รูปไข่อยู่เหนือวงกลีบ กว้างประมาณ 2 มม. ยาว ประมาณ 3 มม. มีขนหนาแน่น มี 5 ช่อง แต่ละช่อง มีออวุล 2-4 เมล็ด ใบประดับย่อย 3 ใบรูปส้อม สีเหลืองอ่อนและมีสีแดงตามแนวเส้นท่อลำเลียง ผลรูปกลม หรือรูปไข่ มีขนหนาแน่น กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 1.8-2.5 ซม. มีครีบเป็นสันตามยาว 5 ครีบ สันกว้างกว่า ½ ของส่วนกลางผล ก้านผลยาว ผลแก่ไม่แตก พบตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะ ที่รกร้าง ออกดอกช่วงเดือน พฤษภาคมถึงกันยายน เป็นผลช่วงเดือนพฤษภาคมถึงธันวาคม
ลักษณะวิสัย
ลักษณะวิสัย
ดอกตูม
ดอก
ดอก
ดอก
ดอก
ดอก ใบ และ ผล
ผล และ ใบ
ผล
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้านใช้ ผล ผสมกับเปลือกต้นตูมกาขาว และเหง้าดองดึง เป็นยาเบื่อสุนัข เปลือก ให้เส้นใย ใช้ทำเชือกคุณภาพดี
ประเทศลาว ทั้งต้น ต้ม เป็นยารักษาบิด แก้ท้องเสีย