พลู่มะลี
ชื่อสมุนไพร | พลู่มะลี |
ชื่ออื่นๆ | เกลื่อน (สุราษฎร์ธานี), ตาไชใบใหญ่ (ตรัง), โว่โพ้, อวบดำ |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Chionanthus ramiflorus Roxb. |
ชื่อพ้อง | Chionanthus effusiflorus F.Muell., C. intermedius (Wight) F.Muell., C. macrophyllus (Wall. & G.Don) Blume, C. palembanicus Miq., C. pauciflorus (Wall. ex G.Don) Bennet & Raizada, C. picrophloius F.Muell., Linociera cumingiana S.Vidal, L. effusiflora F.Muell., L. intermedia Wight, L. macrophylla Wall. & G.Don, L. oblonga Wall. & G.Don, L. pauciflora (Wall. ex G.Don) C.B. Clarke, L. picrophloia (F.Muell.) F.M.Bailey, L. ramiflora (Roxb.) Wall., Mayepea cumingiana (S.Vidal) Merr., M. intermedia (Wight) Kuntze, M. palembanica (Miq.) Kuntze, M. pauciflora (Wall. ex G.Don) Kuntze, M. picrophloia (F.Muell.) F.Muell., M. ramiflora (Roxb.) F.Muell., Olea attenuata Wall. & G.Don , O. floribunda Benth., O. pauciflora Wall. ex G.Don, O. roxburghiana Schult., Phillyrea ramiflora |
ชื่อวงศ์ | Oleaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่ม ผลัดใบ ขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง สูง 5-10 เมตร กิ่งก้านเรียวเล็ก และลู่ลงเล็กน้อย เปลือกต้นเรียบ สีขาวอมน้ำตาล เกลี้ยง หรือแตกระแหงเล็กน้อย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบรูปขอบขนานแกมรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบ กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 8-18 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง หลังใบสีเขียวเข้ม ผิวใบเรียบเกลี้ยง เส้นใบข้าง 8-12 คู่ ก้านใบเกลี้ยง ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตร ดอกช่อแบบช่อแยกแขนง หลวมๆ ออกที่ซอกใบหรือกิ่งก้าน ช่อดอก ยาว 3-15 ซม. แขนงข้างของช่อด้านล่างยาวอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของความยาวของช่อหลัก ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมเอียน ขนาดเล็ก ดอกย่อย 40-100 ดอก ดอกย่อยมีขนาด 0.3-0.7 เซนติเมตร กลีบดอก มีอย่างละ 4 กลีบ รูปขอบขนาน ยาวเป็น 2 เท่าของหลอดกลีบ ก้านดอกย่อยยาว 1-2 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงสีเขียว มี 4 กลีบ ขนาด 1-1.5 มิลลิเมตร พูกลีบลึก โคนติดกัน ปลายเป็นแฉกตื้นๆ เกสรเพศผู้มี 2 อัน สั้นกว่าหลอดกลีบ อับเรณูขนาด 1 มิลลิเมตร รูปรีหรือรูปขอบขนาน ไม่มีก้านชู กลมมีติ่งที่ปลาย ปลายเกสรตัวเมีย เป็น 2 พู จางๆ ก้านชูสั้น ผลสด รูปมนรี หรือรูปไข่กลับ ขนาดประมาณ 1.5-3 × 0.5-2.2 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ มีชั้นกลีบเลี้ยงรองรับ ผลอ่อนสีเขียว เนื้อผลบาง พอสุกเป็นสีม่วงดำ ชั้นหุ้มเมล็ดแข็ง ภายในมี 1 เมล็ด ออกดอกและติดผลช่วงเดือนธันวาคมถึงพฤษภาคม พบตามป่าดิบและป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูง 450-800 เมตร
ลักษณะวิสัย
ลำต้น และ ผลอ่อน
ใบ และ ดอก
ดอก
ดอก
ผลแก่ และ ผลสุก
สรรพคุณ
ตำรายาไทย ราก ต้มน้ำอมช่วยให้ฟันทน และเคี้ยวอมเพื่ออดบุหรี่ ลำต้น ใช้ในตำรับยาตะแบกป่า โดยนำมาผสมกับเนื้อไม้ตะแบกป่า (มะเกลือเลือด) ต้มน้ำดื่มรักษาโรคมุตกิด โรคระดูขาว รักษาภาวะมีบุตรยากในสตรีเนื่องจากรอบเดือนผิดปกติ (ตำรับยาสมุนไพร ร.พ.กาบเชิง จ.สุรินทร์)
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/