เสียวใหญ่
ชื่อสมุนไพร | เสียวใหญ่ |
ชื่ออื่นๆ | ไคร้หางนาค (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เสียวน้อย เสียวเล็ก (ขอนแก่น) เสียวหางนาค (อุบลราชธานี) เสียวน้ำ (อุบลราชธานี ปราจีนบุรี) ตะไคร้หางสิงห์ (สุพรรณบุรี) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Phyllanthus taxodiifolius Beille |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Euphorbiaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดเล็ก สูงประมาณ 2 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาล กิ่งอ่อนเป็นสันเหลี่ยมสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน ออกหนาแน่น ใบมีขนาดเล็ก รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ปลายใบมนและเป็นติ่ง โคนใบมนเบี้ยว หลังใบเรียบเป็นมัน ท้องใบเรียบสีอ่อนกว่า แผ่นใบแผ่บาง ใบอ่อนสีแดง หูใบรูปใบหอก ยาว 1-2 มิลลิเมตร เส้นแขนงใบข้างละ 3-4 เส้น เส้นร่างแหเห็นไม่ชัดเจน ก้านใบสั้นมาก ดอกออกเดี่ยวๆที่ซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ดอกย่อยสีขาวนวล ดอกเพศผู้ออกเดี่ยวๆตามซอกใบ มีกลีบรวม 4 กลีบ รูปไข่หรือรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ก้านดอกยาว 2 มิลลิเมตร จานฐานดอก 4 อัน เป็นตุ่ม เกสรเพศผู้ 2 อัน ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันที่โคนเป็นเส้าเกสรสั้น ๆ ดอกเพศเมียมีกลีบรวม 6 กลีบ ขนาดเล็ก รูปรีหรือรูปไข่ ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร จานฐานดอกเป็นกาบรูปถ้วย จักเป็นครุย รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียปลายแยกเป็น 3 อัน ยาว 0.2-0.3 มิลลิเมตร ผลแห้งแตกแบบแคปซูล ออกเป็นกระจุกหรือเดี่ยว ทรงค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 มิลลิเมตร มีแนวพู 8 พู ที่ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ผิวเกลี้ยง สีเขียว เปลือกนอกมีผิวบาง ก้านยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร เมล็ดมีสามสัน ขนาดเล็ก จำนวน 8-10 เมล็ด กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร มีเส้นใยฝอย พบที่ระดับสูงจากระดับน้ำทะเล 500-800 เมตร ออกดอกราวเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ติดผลราวเดือนกันยายนถึงธันวาคม
ลักษณะวิสัย
ลำต้น และ ใบ
ใบ
ดอกตูม
ดอก
ใบ และ ดอก
ดอก
ดอก
สรรพคุณ
ตำรายาพื้นบ้านอีสาน ราก ต้มน้ำดื่ม แก้มดลูกอักเสบ
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานีใช้ ราก เข้ายากับเสี้ยวใหญ่ และเสี้ยวน้อย ต้มน้ำดื่ม แก้ไตพิการ ลำต้น เข้ายากับเสี้ยวน้อย และดูกข้าว ต้มน้ำดื่ม แก้ปวด
ตำรายาไทย ไม่ระบุส่วนที่ใช้ เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้เลือดออกตามไรฟัน