หว้านา
ชื่อสมุนไพร | หว้านา |
ชื่ออื่นๆ | เสม็ดแดง หว้า หว้าทุ่ง หว้าแดง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Syzygium cinereum (Kurz) Chantar.& J.Parn |
ชื่อพ้อง | S. cinerascens C.Presl, S. cinereum (Kurz) Wall. ex Merr. & L.M. Perry, Eugenia cinerea Kurz, E. ixoroides Elmer, E. operculata var. orientalis Craib ,E. pseudosubtilis var. subacuminata |
ชื่อวงศ์ | Myrtaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 20 เมตร ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มกลมหรือรูปไข่ กิ่งอ่อนรูปสี่เหลี่ยม เปลือกต้นสีเทาอ่อนหรือสีออกน้ำตาล แตกเป็นร่องลึกตามยาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 3-8 ซม. ยาว 7-16 ซม. ปลายใบมนป้าน ฐานใบสอบเรียว ขอบใบเรียบ เป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนาและเหนียว ผิวใบเรียบเกลี้ยง เส้นใบข้าง 6-12 คุ่ เส้นใบที่ขอบใบ 1 หรือ 2 เส้น เส้นใบปิดขนานขอบด้านข้าง เส้นกลางใบจมจากด้านบน ก้านใบยาว 0.5-1.6 ซม. กิ่งก้านสีครีมอ่อน เปลือกหลุดลอกได้ ใบอ่อนสีน้ำตาลอมแดง ดอกช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกเล็กสีเขียวอมเหลือง ช่อดอกยาวได้ถึง 8 ซม. ดอกย่อย 30-40 ดอก เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 1-1.5 เซนติเมตร ดอกย่อยไม่มีก้านดอก กลีบดอก 4 กลีบ เชื่อมเป็นถุงปิดดอกตูม และหลุดเมื่อดอกบาน กลีบมีต่อมเป็นจุดๆ เกสรตัวผู้จำนวนมาก สีขาว ปลายสีเหลืองอ่อน เกสรตัวผู้วงนอกขนาด 1.5-2.5 มม. ก้านเกสรตัวเมียยาวไม่เกิน 1.5 มม. ชั้นกลีบเลี้ยง 2.3 มม. เชื่อมติดกับฐานรองดอกรูปกรวย ปลาย 4 แฉก สีเขียวอ่อน ผลสดรูปทรงกลมแป้น ขนาด 1.3-1.5 ซม. สีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพู เมื่อสุกมีสีแดงเข้ม ถึงม่วงดำ ปลายหรือก้นผลบุ๋ม รวมกันเป็นพวง ผลสุกรสหวานอมเปรี้ยว มีรสฝาดเล็กน้อย ฉ่ำน้ำ รับประทานได้ มี 1 เมล็ด ทรงกลมแป้น สีน้ำตาลอ่อน ออกดอกราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ติดผลราวเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม
ลักษณะวิสัย
ลักษณะวิสัย
ลำต้น
ลำต้น
ใบ
ดอก
ดอก
ดอก
ดอก
ผล
ผล
สรรพคุณ
ตำรายาไทย เปลือกต้น รสฝาด ต้มน้ำดื่มรักษาโรคบิด ต้มอมแก้ปากเปื่อย คอเปื่อย เป็นเม็ดเนื่องจากร้อนใน แก้น้ำลายเหนียว ใบ แก้บิด ผล แก้ท้องร่วง เมล็ด รสฝาด แก้ท้องร่วง และบิด ถอนพิษแสลงใจ ลดน้ำตาลในเลือด ตำเป็นผงแก้ปัสสาวะมาก เปลือกและใบ รสฝาด ตำเป็นยาอม ยากวาด รักษาปากคอเปื่อย เป็นเม็ดตามลิ้นและคอ แก้น้ำลายเหนียว
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/