กาน้ำ
ชื่อสมุนไพร | กาน้ำ |
ชื่ออื่นๆ | จานา (ขอนแก่น);ชุมเห็ดเล็ก (ชน); ตานา (นครราชสีมา);มะยมป่า (กาญจนบุรี) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Glochidion coccineum (Buch.-Ham.) Muell. Arg. |
ชื่อพ้อง | Agyneia coccinea Buch.-Ham., Bradleia coccinea Wall., Diasperus coccineus (Buch.-Ham.) Kuntze , Episteira coccinea (Buch.-Ham.) Raf., Phyllanthus coccineus (Buch.-Ham.) Müll.Arg. |
ชื่อวงศ์ | Phyllanthaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 1-4 เมตร อาจสูงได้ถึง 10 เมตร กิ่งก้านเป็นสันเหลี่ยม มีขนสั้นนุ่มละเอียด ยอดอ่อนแตกแขนงสั้นๆ มีสีค่อนข้างแดง มีขนสั้นนุ่ม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน รูปวงรีแกมขอบขนาน หรือรูปวงรีแกมใบหอก ใบกว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 12-17 เซนติเมตร หูใบรูปสามเหลี่ยมแกมรูปใบหอก มีขนสั้นนุ่ม ก้านใบยาว 3-5 มิลลิเมตร มีขนสั้นนุ่ม ใบแก่เหนียวเหมือนแผ่นหนัง หลังใบสีเขียว ท้องใบสีเขียว มีนวลขาว เส้นใบมีขนสั้นนุ่มห่างๆ ถึงเกลี้ยง ทั้งสองด้าน มีเส้นใบข้าง 6-8 คู่ ดอกช่อกระจุก ดอกย่อยหลายดอกเรียงตัวแน่น ออกที่ซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว ดอกเพศผู้มักอยู่ส่วนล่างของแขนง ดอกเพศเมียอยู่ด้านบน ดอกเพศผู้ มีก้านดอกย่อยยาว 5-15 มิลลิเมตร มีขนสั้นนุ่ม กลีบเลี้ยง 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง วงนอกใหญ่กว่า รูปไข่กลับหรือขอบขนานแกมรูปไข่ ขนาด 2.5-4 มิลลิเมตร สีเหลือง มีขนสั้นนุ่มห่างๆด้านนอก เกสรเพศผู้ 4-6 อัน ดอกเพศเมียก้านดอกสั้นมาก หรือไม่มีก้านดอก กลีบเลี้ยง 6 กลีบ รูปไข่กลับ หรือรูปไข่กลับแกมใบหอก สั้นกว่าของดอกเพศผู้เล็กน้อย ก้านเกสรเพศเมียเชื่อมติดกันกึ่งรูปกรวย ขนาด 1 มิลลิเมตร ผลแห้งแตก รูปกลมแป้น ขนาดประมาณ 6-7 มิลลิเมตร ถึง 15 มิลลิเมตร มีขนละเอียด แบ่งเป็นพูประมาณ 10 พู ผลแก่สีชมพู ออกดอกราวเดือนเมษายนถึงตุลาคม ติดผลราวเดือนสิงหาคมถึงมกราคม พบตามป่าเปิด ป่าละเมาะ ภูเขาหินปูน ที่ระดับ 400 – 1,500 เมตร
ลักษณะวิสัย
ลำต้น
ใบ
ใบ และ ดอก
ดอก
ดอก
ผล
ผล
เมล็ด
สรรพคุณ
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ เนื้อไม้ ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย เปลือกต้น ทุบให้แหลกอม แก้ปากเปื่อย
ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ แก่น ต้มน้ำดื่ม ขับปัสสาวะ
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/