เงี่ยงดุก
ชื่อสมุนไพร | เงี่ยงดุก |
ชื่ออื่นๆ | หนามเงี่ยงดุก (อุบลราชธานี), เงี่ยงดุกเล็ก เงี่ยงดุกน้อย |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Canthium berberidifolium Geddes |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Rubiaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร เปลือกสีน้ำตาล ตามกิ่งและลำต้นมีหนามแหลม กิ่งก้านมักโน้มลง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอกกลับถึงรูปไข่ กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 1.5-2 เซนติเมตร หลังใบสีเขียวสด เข้มเป็นมัน มีขนประปราย ปลายใบมน ฐานใบสอบ ขอบใบเรียบ ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ผลสด รูปทรงกลม เริ่มแรกสีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีส้ม และสีแดงสดตามลำดับ เมล็ดแข็ง ผลแก่สีส้ม ออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม ผลสดมีรสเปรี้ยวอมหวานรับประทานได้
ลักษณะวิสัย
ลำต้น
ใบ และ หนาม
ใบ และ ดอกตูม
ดอก
ดอก
ใบ และ ผล
ผลอ่อน
ผลแก่
ผลสุก
ผลสุก
ผล และ เมล็ด
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ ราก ฝนน้ำกินแก้ฝีในท้อง (วัณโรค)
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/