ขี้ครอก
ชื่อสมุนไพร | ขี้ครอก |
ชื่ออื่นๆ | ขี้ครอกตัวเมีย หญ้าผมยุ่ง หญ้าอียู ชบาป่า ชมดง เส้ง ปอเส้ง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Urena lobata L. |
ชื่อพ้อง | Urena americana L., Urena americana L. f., Urena diversifolia Schumach., Urena grandiflora DC., Urena monopetala Lour., Urena reticulata Cav., Urena tomentosa Blume, Urena trilobata |
ชื่อวงศ์ | Malvaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
ไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง มีขนรูปดาว สูง 0.5-2 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบคล้ายหอก รูปรี หรือรูปไข่ กว้าง 4-12 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร ใบเว้าตื้น มีขนนุ่มรูปดาว ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอก เป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ ดอกออกด้านข้าง หรือที่ซอกใบเป็นกระจุก 2-3 ดอก กลีบดอกรูปกงล้อสีแดง หรือชมพูอ่อน ตรงกลางสีแดง มีริ้วประดับยาวกว่ากลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้เชื่อมกันเป็นหลอดโค้งลง อับเรณูสีม่วง เกสรเพศเมียสีม่วงเข้ม ผล ผลแห้ง มีขนรูปดาว เหนียว
ลักษณะวิสัย
ลักษณะวิสัย
ต้น ดอก และใบ
ต้น ดอก และใบ
ใบ และดอก
ดอก
ดอก
ผล
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย ต้นและใบ รสขื่น ต้มจิบแก้ไอ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ และแก้ไตพิการ ราก รสเย็น ใช้รับประทานดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
องค์ประกอบทางเคมี:
ส่วนเหนือดิน พบสารฟลาโวนอยด์ ได้แก่ mangiferin, quercetin และอนุพันธ์ของสาร kaempferol
ใบ พบสารไตรเทอร์ปีนอยด์ซาโปนิน ได้แก่ (−)-trachelogenin, clemato-side-S
ราก พบสารimperatorin (furocoumarin) (Islam and Uddin, 2017)
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ฤทธิ์ทางระบบประสาท
ทดสอบโดยป้อนสารสกัด ethanol จากส่วนเหนือดินของขี้ครอก ขนาด 250 หรือ 500 mg/kg แสดงฤทธิ์ลดปวดได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อทดสอบด้วยวิธี acetic acid-induced writhing test ในหนูถีบจักร สายพันธุ์ Swissการศึกษายังพบว่าสารสกัด hexane, ethyl acetate, chloroform, acetone และ methanol ขนาด 400 mg/kg มีฤทธิ์ทำให้ง่วงซึม ในหนูถีบจักร สายพันธุ์ Swiss นอกจากนี้สารสกัด methanol จากใบขี้ครอก มีฤทธิ์ต้านการรับความรู้สึกเจ็บปวดในหนูถีบจักร สายพันธุ์ Swiss และจากการศึกษาพบว่าการป้อนสารสกัด ethanol จากใบขี้ครอก ขนาด 250 หรือ 500 mg/kg ในหนูถีบจักรสายพันธุ์ Swiss และหนูแรท สายพันธุ์ Sprague-Dawley เพศผู้ มีผลลดอาการวิตกกังวล, ต้านอาการซึมเศร้า และต้านการอักเสบได้ (Islam and Uddin, 2017)
ฤทธิ์แก้ท้องร่วง/ลดการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร
สารสกัด ethanol จากส่วนเหนือดินของขี้ครอก ขนาด 250 และ 500 mg/kg มีฤทธิ์ลดการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อทดสอบด้วยวิธี charcoal meal defecation ในหนูถีบจักร นอกจากนี้สารสกัดเมล็ดขี้ครอกสามารถลดอาการท้องร่วงจากการเหนี่ยวนำด้วยน้ำมันละหุ่ง และ prostaglandin E2 (PGE2) ที่เหนี่ยวนำให้เกิดของเหลวในทางเดินอาหารของหนูทดลอง (Islam and Uddin, 2017)
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัด methanol จากรากขี้ครอก พบฤทธิ์ยับยั้ง lipid peroxidation, ต้านอนุมูล hydroxyl (●OH) และ superoxide radicals(O2●-) โดยมีค่าการยับยั้งได้ร้อยละ 50 (IC50) เท่ากับ 470.60, 1627.35 และ 1109.24 µg/mLตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถ ลดการเกิด lipid peroxidation, ลดปริมาณสาร malondialdehyde (MDA) ที่เกิดจากปฏิกิริยา lipid peroxidation และลดการเกิดภาวะ oxidative stress ในตับของกระต่ายได้ (Islam and Uddin, 2017)
ฤทธิ์รักษาแผล
ทดสอบฤทธิ์รักษาแผลในหนูแรท โดยนำสารสกัด methanol ของขี้ครอกเปรียบเทียบกับสูตรยา povidone-iodine ผลการทดสอบพบว่าสารสกัด methanol ของต้นขี้ครอกมีประสิทธิภาพในการรักษาแผลผ่าตัด (excision wound) และแผลเปิดที่เกิดจากการตัดผิวหนังส่วน full thickness ออกไป (incision wound) แผลไฟไหม้ และบาดแผลที่มีเนื้อตายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Islam and Uddin, 2017)
การศึกษาทางพิษวิทยา:
การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลัน
การศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันโดยป้อนสารสกัด ethanol จากใบขี้ครอก ขนาด 2,000 mg/kg เพียงครั้งเดียว แก่หนูถีบจักรสายพันธุ์ Swiss albino และหนูแรทเพศผู้ สายพันธุ์ Sprague-Dawley พบว่าไม่มีอาการทางคลินิกที่ผิดปกติ และไม่มีมีหนูตาย (Islam and Uddin, 2017)
เอกสารอ้างอิง:
Islam MT, Uddin MA. A revision on Urena lobata L. International Journal of Medicine. 2017;5(1):126-31.