จางจืด

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

จางจืด

ชื่อสมุนไพร จางจืด
ชื่ออื่นๆ มะหิ่งเม่น รางจืด (กาญจนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Crotalaria spectabilis Roth.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์ Fabaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูงถึง 3 เมตร ลำต้นตั้งตรง สีเขียวอ่อน มีสันนูนตามยาว 5-6 สัน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปช้อนแกมรูปไข่กลับ ยาว 13-16 ซม. กว้าง 8-10 เซนติเมตร โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ปลายใบเป็นติ่งแหลม ผิวใบด้านบนเรียบสีเขียวเข้ม ผิวใบด้านล่างสีเขียวอ่อน มีขนสั้นนุ่มประปราย  มีเส้นใบและเส้นใบย่อยนูนชัดเจน ก้านใบอวบ ยาว 4-6 มิลลิเมตร หูใบรูปสามเหลี่ยม ปลายแหลมคล้ายหนาม ยาว 8-13 มิลลิเมตร ช่อดอกแบบช่อกระจะ ยาว 30-45 เซนติเมตร ออกที่ส่วนปลายยอด ดอกรูปถั่ว เมื่อบานเต็มที่ ยาว 2.5-3 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีเขียว ยาว 10-15 มิลลิเมตร มี 5 กลีบ รูปร่างต่างกัน ส่วนปลายแยกเป็นแฉก ส่วนโคนเชื่อม กลีบดอกสีเหลือง มี 5 กลีบ กลีบกลาง มีเส้นสีน้ำตาลเข้มปรากฏอยู่ เกสรเพศผู้ มี 10 อัน (สั้น 5 อัน ยาว 5 อัน) ติดกันเป็นมัดเดียว ผลแบบฝักถั่ว รูปขอบขนาน ยาว 30-50 มิลลิเมตร กว้าง 12-15 มิลลิเมตร


 

ลักษณะวิสัย

 

ใบ

 

ช่อดอก

 

ช่อดอก  และ  ผล

 

ดอก

 

ผล



สรรพคุณ    
              ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี  ใช้  ใบ ตำพอกประคบ แก้พิษงู พิษตะขาบ

 

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 0
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่