จอง
ชื่อสมุนไพร | จอง |
ชื่ออื่นๆ | จอง (อุบลราชธานี), สำรอง (จันทบุรี ตราด), พุงทะลาย |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Scaphium scaphigerum (G.Don) Guib. & Planch. |
ชื่อพ้อง | Scaphium macropodum |
ชื่อวงศ์ | Sterculiaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 45 เมตร ผลัดใบ โคนต้นมีพูพอน เปลือกสีเทา มีรอยแผลเป็นทั่วไป เปลือกในสีชมพูมีเส้นตามยาว เรือนยอดเป็นพุ่มกลม รูปกรวยคว่ำ กิ่งก้านมักแตกออกรอบลำต้น ณ จุดเดียวกัน เป็นชั้นๆ แบบฉัตร ใบเดี่ยว เนื้อใบบาง เกลี้ยงเป็นมันทั้งสองด้าน ใบอ่อนสีแดงเรื่อๆ ใบเรียงแบบสลับ ใบมีหลายรูปร่าง เช่น รูปร่างคล้ายรูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปไข่แกมใบหอก ปลายเรียวแหลม โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อยเป็นรูปหัวใจ ขนาดใบกว้าง 5-20 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร และมีใบรูปร่างเป็นแฉกเว้าลึก 2 แฉก ถึง 5 แฉก ก้านใบค่อนข้างยาว ประมาณ 3-15 เซนติเมตร ใบต้นอ่อนมักเป็นหยักมี 3-5 หยัก และมีก้านใบยาวมาก ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง แยกเพศ กลีบดอกสีเขียวอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อใหญ่ กลีบเลี้ยงมีขนสีแดง ผลเป็นผลแห้งรูปกระสวย เมล็ดรีสีน้ำตาลขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร เมล็ดติดอยู่ด้านล่างของปีก คล้ายลูกสมอแห้ง เปลือกบาง แผ่เป็นแผ่นใหญ่ เป็นปีกมีลักษณะโค้งงอ บางคล้ายเรือ สีน้ำตาลอ่อน มีลายเส้นชัดเจน ผลแก่ ที่เปลือกเมล็ดชั้นนอกมีสารเมือกจำนวนมาก เมื่อแช่น้ำจะพองตัวคล้ายเยลลี่สีน้ำตาล รับประทานได้ พบตามป่าดงดิบเขาที่มีฝนตกชุก และมีแสงแดดส่องถึง หรือป่าดิบชื้น พบมากใน จ.จันทบุรี และอุบลราชธานี ออกผลไม่แน่นอน อาจจะออกทุกปี หรือปีเว้นปี ขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด
ลักษณะวิสัย
ลำต้น
ใบ
ใบ
ผล
ผล
สรรพคุณ
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ผลแห้ง แช่น้ำดื่ม แก้ไอ แก้ร้อนในกระหายน้ำ โดยใช้ผลแห้งครั้งละ 3-5 ผล (ประมาณ 3-10 กรัม) แช่กับน้ำพอควรจนพองเป็นวุ้นใส่น้ำเชื่อมหรือน้ำตาลกรวด รับประทานทั้งเนื้อและน้ำ วันละ 3 ครั้งเมล็ด แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้โรคตาแดงอักเสบ ลดการดูดซึมไขมัน
ตำรายาไทย ใช้ เปลือกหุ้มเมล็ด ที่พองตัว รสจืดเย็น ปรุงกับน้ำตาลทรายแดง หรือชะเอมเทศ รับประทานแก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำให้ใจคอชุ่มชื่น แก้ไอ แก้เจ็บคอ ขับเสมหะ เอาวุ้นใส พอกตา แก้ตาอักเสบบวมแดง ปอดบวม
ข้อมูลเครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-thaicrudedrug/
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/