ตองหมอง

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ตองหมอง

ชื่อสมุนไพร ตองหมอง
ชื่ออื่นๆ ตองหมอง (อุบลราชธานี) ต่างหมอง (ชัยภูมิ) ดอกฮักดาน ตองหมองดาน กระโดนจาน ต่างหนอง ไชหิน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tadehagi godefroyanum (O.Ktze) Ohashi.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์ Fabaceae (Papilionaceae)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูง 1.5-3 เมตร ลำต้นมีข้อเด่นชัด มีขนสีขาวและนวลแป้ง แตกกิ่งก้านได้มาก ที่โคนต้น เรือนยอดเล็ก มีใบน้อย เปลือกสีเทานวล ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 12-15 เซนติเมตร ฐานใบรูปหัวใจ ปลายใบมน ปลายใบแหลม แผ่นใบด้านบนสีเขียวแกมเทา ด้านล่างสีขาวนวล มีขนสั้นๆขึ้นหนาแน่นที่ผิวใบทั้ง 2 ด้าน ก้านใบแผ่เป็นครีบแบน ขอบใบเรียบ ดอกช่อแบบกระจะ ออกที่ปลายกิ่ง ชูขึ้นเห็นเด่นชัด ยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นรูปคล้ายดอกถั่ว กลีบดอกสีม่วงแดง กลีบกลางรูปเกือบกลม กลีบคู่ล่างรูปขอบขนานแกมรูปไข่ เกสรเพศผู้มี 10 อัน เชื่อมกันเป็น 2 กลุ่ม เกสรเพศเมียมีรังไข่รูปแถบ มีขนสีขาว กลีบเลี้ยง เชื่อมติดกันตรงโคน ปลายแยกเป็น 4 กลีบ สีเขียวแกมแดง ผล เป็นฝักแบน คอดเป็นข้อๆ ประมาณ 3-5ข้อ มีขนหนาแน่น เฉพาะตรงสันของฝัก มี 3-5 เมล็ด พบขึ้นทั่วไปตามโขดหิน ดินดาน และลานหินของป่าเต็งรัง ออกดอกตลอดปี ยอดอ่อนและใบอ่อน มีรสฝาดใช้รับประทานเป็นผักสดได้

 

ลักษณะวิสัย

 

ใบ

 

ช่อดอก

 

ดอก

 

ผลอ่อน

 

ผลแก่



สรรพคุณ    
              ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี  ใช้  ราก ต้มน้ำดื่ม แก้โรคกระเพาะอาหาร ยอดและใบ ต้มน้ำดื่ม แก้บิด ท้องร่วง แก้ตกเลือด ปวดเอว ใบนำมาตากแห้งบดเป็นยารักษาเบาหวาน
              ยาพื้นบ้าน  ใช้  ราก ต้มน้ำดื่ม แก้อาเจียน มีเลือดออกทั้งทางปาก และทวารหนัก รากผสมกับรากแกลบหนู ต้มรวมกันดื่ม รักษาถ่ายเป็นมูกเลือด

 

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 3
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่