ตีนนก

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ตีนนก

ชื่อสมุนไพร ตีนนก
ชื่ออื่นๆ กาสามปีก กะพุน ตะพรุน กานน สมอกานน ไข่เน่า โคนสมอ ตะพุน ตะพุนทอง ตะพุ่ม สะพุนทอง นน สมอตีนเป็ด สมอตีนนก นนเด็น เน่า สมอตีนนก สมอบ่วง สมอป่า สมอหิน สวองหิน ลือแม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Vitex pinnata L.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์ Verbenaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้ต้น สูง 5-10 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ดยาว กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมสี่มุม มีขนสั้นปกคลุม ใบประกอบแบบฝ่ามือ ใบย่อย 3-5 ใบ ออกจากจุดเดียวกัน เรียงแบบตรงข้ามและตั้งฉาก ใบย่อยรูปใบหอกถึงรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 10-13 เซนติเมตร ใบย่อยตรงกลางมักมีขนาดใหญ่ที่สุด ปลายใบแหลม ฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ ยอดอ่อนมีขนคล้ายกำมะหยี่ ผิวใบด้านบนเรียบ ด้านล่างมีขนสั้นๆ หนาแน่น ขนนุ่ม ก้านใบแผ่เป็นปีก ก้านใบย่อยสั้นมาก ดอกช่อแบบช่อแยกแขนงออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ยาว 7-20 เซนติเมตร ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอก 5 กลีบ กลีบบนมี 4 กลีบ กลีบล่างมี 1 กลีบ สีน้ำเงินหรือสีม่วงอ่อน โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปถ้วย ปลายแยกเป็นสองปาก เกสรเพศผู้มี 4 อัน ติดกับหลอดกลีบดอก สั้น 2 อัน ยาว 2 อัน เกสรเพศเมียมีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปถ้วย ปลายแยกเป็นติ่งรูปสามเหลี่ยม มีขนสั้น ไม่มีก้านดอก ผลเดี่ยว สด รูปทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร มีเมล็ดเดียวแข็ง มีกลีบเลี้ยงติดคงทน ผลแก่สีม่วงเข้มถึงสีดำ ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกุมภาพันธ์ พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง


 

ลักษณะวิสัย

 

ลำต้น และ ใบ

 

ลำต้น

 

ลำต้น และ ใบ

 

ใบ

 

ลักษณะเฉพาะของใบ

 

ช่อดอก

 

ช่อดอก

 

ดอก

 

ดอก

 

ผล

 


สรรพคุณ
               เปลือกต้น แก่น และรากบดเป็นผงละลายน้ำดื่มแก้ไข้ ราก ช่วยขับลม ใบ ตำพอกแผล

 

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 12
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่