นมแมวแดง
ชื่อสมุนไพร | นมแมวแดง |
ชื่ออื่นๆ | นมแมวแดงใบหนา (ภาคใต้) หำอีปู่ (อุบลราชธานี) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Cyathostemma argentatum (Blume) J.Sinclair |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Annonaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เถาเลื้อย ลำต้นสีน้ำตาลเข้ม มีช่องอากาศขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว แผ่นใบรูปขอบขนาน ยาว 5-8 ซม. กว้าง 1-2 ซม. โคนใบมน ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ผิวใบเกลี้ยง ก้านใบกี่งตั้งฉากกับกิ่ง ยาวประมาณ 5 มม. ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเขียวขี้ม้า ดอกเดี่ยว ออกปลายยอด หรือซอกใบ กลีบเลี้ยงเชื่อมที่ส่วนโคนเล็กน้อย มี 3 กลีบ ยาว 2-3 มม. กลีบดอกแยก สีแดงแกมม่วง มี 6 กลีบ รูปไข่ ยาว 4-6 มม. กว้าง 4-5 มม. ปลายแหลม แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นนอก 3 กลีบ ชั้นใน 3 กลีบ กลีบชั้นนอกมีขนาดใหญ่ชั้นในเล็กน้อย ก้านใบ ยาวถึง 5 มม. ส่วนโคนมีกาบขนาดเล็กหุ้มอยู่ ผลกลุ่ม
ลักษณะวิสัย
ใบ และ ดอก
ดอก
ดอก
สรรพคุณ
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม ช่วยบำรุงน้ำนมผู้หญิงหลังคลอดบุตร
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/