ทองพันชั่ง

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ทองพันชั่ง

ชื่อสมุนไพร ทองพันชั่ง
ชื่ออื่นๆ หญ้ามันไก่ ทองพันดุลย์ ทองคันชั่ง(กลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhinacanthus nasutus (Linn.) Kurz.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์ Acanthaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
              ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ  1-2 เมตร กิ่งอ่อนและลำต้น มักเป็นสันสี่เหลี่ยม ส่วนที่ยังอ่อนมักมีขนปกคลุม โคนลำต้นเนื้อเป็นแกนแข็ง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรี โคนใบและปลายใบแหลม กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ก้านใบยาว 0.5-1 เซนติเมตร ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาว โคนกลีบ ติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีจุดประสีม่วงแดง ผลเป็นผลแห้งแตกได้ ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร มักมีขน

 

ลักษณะวิสัย

 

ใบ และ ดอก

 

 ดอก

 


สรรพคุณ    

               ตำรายาไทยใช้ ใบ และราก  รักษากลาก เกลื้อน ผื่นคัน โดยใช้ใบสด และรากโขลกให้ละเอียด แช่เหล้าโรง 1 สัปดาห์ เอาน้ำเหล้าทาบริเวณที่มีอาการ วันละ 2-3 ครั้ง ใบ รสเบื่อเย็น ดับพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน แก้พยาธิผิวหนัง นำใบสดหรือคั่วแห้ง มาชงในน้ำดื่ม เป็นยาขับปัสสาวะ ยาระบาย  ราก รสเบื่อเมา แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน และโรคผิวหนังที่เป็นน้ำเหลืองบางชนิด

 

องค์ประกอบทางเคมี    
              ใบพบสารสำคัญคือ rhinacanthin และoxymethylanthraquinone

 

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง :  phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 8
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่