พลองใบเล็ก
ชื่อสมุนไพร | พลองใบเล็ก |
ชื่ออื่นๆ | พรม, พลองขี้ไต้ (ประจวบคีรีขันธ์); พลองขี้นก (ลำปาง); พลองขี้ควาย |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Memecylon caeruleum Jack |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Melastomataceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่ม หรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-12 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 8-16 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบรูปลิ่ม มนหรือกลม แผ่นใบค่อนข้างหนา เกลี้ยง ก้านใบยาว 0.2-1 เซนติเมตร ช่อดอกออกเป็นกระจุกสั้นๆ ตามซอกใบ ก้านช่อยาว 0.5-1.2 เซนติเมตร ใบประดับขนาดเล็ก ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ร่วงง่าย ก้านดอกยาว 2-5 มิลลิเมตร ฐานดอกรูปถ้วยตื้นๆ ยาว 1.5-3 มิลลิเมตร เกลี้ยง กลีบเลี้ยงจักตื้นๆ 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ สีม่วง รูปไข่กว้าง ปลายแหลม ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ 8 อัน สีม่วง ยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร รวมอับเรณู อับเรณูยาว 1-1.5 มิลลิเมตร ปลายมีรยางค์ มีต่อมที่โคน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ รูปไข่ ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม ผลคล้ายผลสดมีเมล็ดเดียวที่เจริญ ทรงรูปไข่รีๆ เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร ผิวเรียบเกลี้ยง สีชมพูอมม่วงสุกสีม่วงดำ เมล็ดกลมเปลือกแข็ง พลองขี้ควายมีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบในจีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ในไทยพบกระจายห่างทุกภาค พบมากทางภาคใต้ จนถึงระดับความสูงประมาณ 1,200 เมตร
ลักษณะวิสัย
ใบ และ ดอก
ใบ และ ช่อดอก
ดอก
ผล
สรรพคุณ
ตำรายาไทย ใช้ ราก ผสมรากพลองเหมือด ต้มน้ำดื่ม แก้ผิดสำแดง
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/