มะกอกน้ำ
ชื่อสมุนไพร | มะกอกน้ำ |
ชื่ออื่นๆ | สารภีน้ำ (ภาคกลาง) สมอพิพ่าย(ระยอง) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Elaeocarpus hygrophilus Kurz. |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Elaeocarpaceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขามาก พบขึ้นตามริมน้ำ ตามชายฝั่งทะเล ตามป่าโกงกาง ป่าพรุ ต้นสูง 3-12 เมตร เปลือกลำต้นค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาล ตามกิ่งมีรอยแผลใบชัดเจน ใบเดี่ยวรูปไข่กลับ ออกแบบเรียงเวียนสลับ หนาแน่นที่ปลายกิ่ง ใบรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนสอบแคบเรียวแหลมติดก้านใบ ท้องใบและหลังใบเรียบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ใบเขียว เส้นใบสีขาว ก้านใบสั้นสีแดงยาว 0.5-2 เซนติเมตร มักออกอยู่ตามปลายกิ่ง หนาและแข็งเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกย่อยสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายกลีบดอกจักเป็นฝอยเล็กๆ กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ สีเขียว ปลายกลีบแหลม เกสรตัวผู้มีจำนวน 15-25 อัน ผลมีลักษณะรูปยาวรี สีเขียวอ่อนนวลๆ ผิวผลเรียบ เมล็ดเดี่ยว รูปกระสวย ผิวขรุขระและแข็ง ให้ผลระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงพฤศจิกายน เนื้อหุ้มผลรสเปรี้ยว รับประทานได้ พบตามริมน้ำลำธารทั่วไป
ลักษณะวิสัย
ลักษณะวิสัย
ใบ
ยอดอ่อน
ลำต้น
ช่อดอก
ช่อดอก
ช่อดอก และ ผล
ผล
สรรพคุณ
เปลือกต้น รสเฝื่อน ชงน้ำดื่ม ฟอกโลหิตหลังคลอด ผล รสฝาด เปรี้ยว อมหวาน แก้เสมหะในลำคอ แก้กระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ นำผลไปดองหรือเชื่อมกินเป็นผลไม้ช่วยระบาย
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/