เม็ก

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

เม็ก

ชื่อสมุนไพร เม็ก
ชื่ออื่นๆ ไคร้เม็ด (เชียงใหม่ ภาคกลาง) เม็ก (ตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ) เสม็ดแดง เสม็ดชุน เสม็ด (สกลนคร สตูล) เสม็ดขาว เสม็ดเขา (ตราด) เม็ดชุน(นครศรีธรรมราช) ขะเม็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium gratum (Wight) S.N.Mitra var. gratum
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์ Myrtaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
           ไม้ต้น สูงได้ถึง 20 เมตร กิ่งเป็นสันสี่เหลี่ยม ลำต้นสีน้ำตาลแดง เปลือกบาง ซ้อนกันหลายๆชั้น แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ รูปรีถึงรูปใบหอก หรือรูปไข่ กว้าง2.5-4 เซนติเมตร ยาว 6-8 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบแหลมหรือมน ขอบใบเรียบ ใบแก่ผิวด้านบนเกลี้ยงมันวาว ใบอ่อนสีน้ำตาลปนชมพู ผิวใบด้านล่างเกลี้ยง มีจุดโปร่งแสงหนาแน่น ดอกช่อ แบบช่อแยกแขนง ยาว 1.5-3 เซนติเมตร ออกที่ซอกใบและปลายยอด ดอกย่อยสีขาว ไม่มีก้านดอก ฐานดอกรูปถ้วย ทรงรูปกรวยแกมทรงกระบอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยม กลีบดอก 5 กลีบ แยกกัน สีขาว รูปเกือบกลม สีเหลืองอ่อน เกสรเพศผู้จำนวนมาก เกสรเพศเมียมีรังไข่ขนละเอียด อยู่ใต้วงกลีบ ผลสด ทรงกลม สีขาว ฐานผลนูนออกมาและบุ๋ม กระจายพันธุ์แถบป่าผลัดใบ และริมลำธาร ออกดอกช่วงเดือน เมษายน ถึงพฤษภาคม ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักได้

 

ลักษณะวิสัย (เปลือกลำต้นสีน้ำตาลแดง)

 

ใบ และ ผลอ่อน

 

ช่อดอก

 

ช่อดอก

 

ผล

 

ผล

 


สรรพคุณ    
            ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี  ใช้  ราก ต้มน้ำดื่ม แก้เบื่อเมา แก้ผิดสำแดง ยอดอ่อน รับประทานสด ขับลม
            ตำรายาไทย  ใช้  เปลือก ต้มทา ลมพิษ หรือแก้พิษน้ำเกลี้ยง ใบแก่ ตำพอกแก้ฟกช้ำ

 

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 0
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่