กระเจี๊ยบแดง
ชื่อเครื่องยา | กระเจี๊ยบแดง |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | กระเจี๊ยบเปรี้ยว |
ได้จาก | ใบประดับ และกลีบเลี้ยง |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | กระเจี๊ยบแดง |
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) | กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว ส้มพอเหมาะ ส้มเก็งเค็ง ส้มปู ส้มพอดี แกงแดง ส้มตะเลงเครง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Hibiscus sabdariffa L. |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Malvaceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วย ยาว 1-1.5 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉก คล้ายเฟือง ประมาณ 8-12 แฉก แผ่ขยายติดกัน หักง่าย มีสีแดงอมม่วง หนา เมื่อสดฉ่ำน้ำ มีรสเปรี้ยว
เครื่องยากระเจี๊ยบแดง
เครื่องยากระเจี๊ยบแดง
เครื่องยากระเจี๊ยบแดง
เครื่องยากระเจี๊ยบแดง
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ปริมาณความชื้นไม่เกิน 12% น้ำหนักต่อน้ำหนัก ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 2% น้ำหนักต่อน้ำหนัก ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 10% น้ำหนักต่อน้ำหนัก ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 1.5% น้ำหนักต่อน้ำหนัก ปริมาณสารสกัดเอทานอล ไม่น้อยกว่า 7% น้ำหนักต่อน้ำหนัก สารสกัดน้ำ ไม่น้อยกว่า 45% น้ำหนักต่อน้ำหนัก ปริมาณกรด (acid content) ไม่น้อยกว่า 12% น้ำหนักต่อน้ำหนัก (โดยคำนวณเทียบกับกรด citric acid)
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: กลีบเลี้ยงมีรสเปรี้ยว แก้อาการขัดเบา แก้เสมหะ ขับน้ำดี ลดไข้ แก้ไอ ขับนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ แก้อ่อนเพลีย บำรุงธาตุ แก้กระหายน้ำ รักษาไตพิการ ขับเมือกมันให้ลงสู่ทวารหนัก ละลายไขมันในเลือด
ตำรายาโบราณ: ใช้ทั้งต้นใส่หม้อต้มน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวไฟให้งวดเหลือ 1 ส่วน ผสมกับน้ำผึ้งกึ่งหนึ่ง รับประทานวันละ 3 เวลา หรือจะรับประทานน้ำยาเปล่าๆก็ได้จนหมดน้ำยานั้น เป็นยาฆ่าพยาธิตัวจี๊ด
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ขับปัสสาวะ ใช้สมุนไพรแห้ง บดเป็นผง 3 กรัม (หรือ 1 ช้อนชา) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วยแก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน หรือจนกว่าอาการจะหาย
องค์ประกอบทางเคมี:
มีสาร Anthocyanin และกรดอินทรีย์หลายตัว เช่น citric acid, mallic acid, tartaric acid, vitamin c ทำให้ปัสสาวะมีฤทธิ์เป็นกรด
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อราอะฟลาทอกซิน ไวรัสเริม ลดความดันโลหิต ยับยั้งเนื้องอก ลดอาการบวม เป็นยาระบาย ขับน้ำดี ขับปัสสาวะ ขับกรดยูริก คลายกล้ามเนื้อเรียบ ลดไข้และลดความเจ็บปวด ปกป้องตับ
ฤทธิ์ระงับปวด สารสกัด ethanol ขนาด 800 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ป้อนหนูถีบจักร สามารถลดจำนวนครั้งของการบิดยืดตัวเมื่อถูกกระตุ้นด้วยกรดอะซีติก
ฤทธิ์ลดไข้ สารสกัด ethanol และน้ำ ในขนาด 200-800 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม มีฤทธิ์ลดไข้ที่เกิดจากการเหนี่ยวนำด้วยยีสต์ในหนูขาว
การศึกษาทางคลินิก:
ลดความดันโลหิต ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ ทำให้ผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อไต ถ่ายปัสสาวะสะดวกขึ้น ผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะอักเสบมีอาการปวดแสบเวลาปัสสาวะน้อยลง
การศึกษาทางพิษวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา: phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/