มะคังแดง
ชื่อเครื่องยา | มะคังแดง |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | มุยแดง ตะลุมพุกแดง |
ได้จาก | เนื้อไม้ แก่น |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | |
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) | จงก่าขาว ตะลุมพุกแดง (กาญจนบุรี) ; จิ้งก่าขาว ชันยอด (ราชบุรี); ตุมกาแดง (กลาง) มะคัง (เชียงใหม่) มะคังป่า (กลาง เหนือ) ; มุยแดง ลุมพุกแดง (นครราชสีมา) โรคแดง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Gardenia erythroclada Kurz |
ชื่อพ้อง | Dioecrescis erythroclada |
ชื่อวงศ์ | Rubiaceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
ลำต้นและกิ่งก้านสีน้ำตาลแดง มีขนนุ่มๆเหมือนกำมะหยี่สีน้ำตาลแดงปกคลุมทั่วไป โคนต้นและกิ่งมีหนามโดยรอบ หนามขนาดใหญ่ พุ่งตรงออกเป็นระยะ เนื้อไม้สีขาวนวล
เครื่องยา มะคังแดง
เครื่องยา มะคังแดง
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
ยาพื้นบ้าน: ใช้ ต้น ต้มน้ำดื่ม แก้เลือดลมเดินไม่สะดวก ผสมกับหัวยาข้าวเย็น ต้มน้ำดื่มแก้ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลืองหรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้) แก้ปวดท้อง ขับพิษโลหิต และน้ำเหลือง เปลือกต้น ตำพอกแผลสด ห้ามเลือด ไม่ระบุส่วนที่ใช้ ใช้แก้ไข้
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี: ใช้ เปลือกต้น เข้ายากับมุ่ยขาว ทำเป็นลูกกลอน แก้ปวดเส้นเอ็น อัมพฤกษ์ อัมพาต แก้ริดสีดวงทวาร แก่น ต้มน้ำดื่มแก้ปวดเมื่อย แก้ปวดประจำเดือน แก่นผสมกับมุ่ยขาว มุ่ยแดง หนามแท่ง เล็บแมว เงี่ยงปลาดุก รักษาโรคกระเพาะอาหาร มะเร็ง
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/