มะคำดีควาย

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

มะคำดีควาย

ชื่อเครื่องยา มะคำดีควาย
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ประคำดีควาย
ได้จาก ผลแก่
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา มะคำดีควาย
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) ประคำดีควาย, ประคำดีกระบือ, ส้มป่อยเทศ(เชียงใหม่), ชะแซ(กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), คำดีควาย(ใต้), มะซัก(เหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sapindus rarak DC.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์ Sapindaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ผลแก่จะแห้ง ค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลางราว 1.5-2 ซม. ผิวของผลย่น เปลือกแห้งสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ผลมี 3 พู ส่วนใหญ่จะฝ่อไป 1 หรือ 2 พู เนื้อเหนียว ใส สีน้ำตาล เมล็ดกลมสีดำ  เป็นมันเนื้อผลมีรสขมหวาน

 

เครื่องยา มะคำดีควาย

 

เครื่องยา มะคำดีควาย

 

เครื่องยา มะคำดีควาย

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล
 
สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ใช้ ผล ต้มเอาน้ำชโลมผม แก้ชันนะตุ(โรคผิวหนังพุพองบนศรีษะเด็ก) แก้เชื้อรา แก้รังแค แต่ไม่ควรทิ้งไว้นานเกินไป ระวังอย่าให้เข้าตา จะทำให้แสบตา ตาอักเสบได้ ต้มเอาฟองสุมหัวเด็กแก้หวัด คัดจมูก แช่น้ำล้างหน้า รักษาผิว ตำรายาแผนโบราณใช้ผล รสขม ดับพิษต่างๆ บำรุงน้ำดี แก้กาฬภายใน สุมเป็นถ่าน ทำยากินแก้ร้อนในกระหายน้ำ ปรุงยาแก้พิษร้อน พิษไข้ แก้ไข้เซื่องซึม พิษตานซาง ใช้ร่วมกับเมล็ดมะกอกสุมไฟ กินแก้หอบเนื่องจากปอดชื้นปอดบวม แก้ไข้ แก้เสลด สุมฝีอันเปื่อยพัง แก้จุดกาฬ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           1.รักษาชันตุ    
              ใช้ผล 4-5 ผล แกะเอาแต่เนื้อ ต้มกับน้ำประมาณ 1 ถ้วย ใช้น้ำทาที่ศีรษะที่เป็นชันตุวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น หรือใช้เนื้อ 1 ผล ตีกับน้ำสะอาดจนเป็นฟอง ใช้สระผมที่เป็นชันตุวันละ 1 ครั้ง จนกว่าจะหาย
           2.รักษาผิวหนังพุพอง น้ำเหลืองเสีย    
              ใช้ผล 10-15 ผล ต้มกับน้ำพอประมาณ นำเฉพาะน้ำมาชะล้าง หรือแช่บริเวณที่เป็นแผลนาน 5 นาที ทั้งเวลาเช้าและเย็น

องค์ประกอบทางเคมี:
           สารซาโปนิน ชื่อ hederagenin

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ยับยั้งเชื้อราโรคกลาก

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           การกินผลทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร หากผงซึ่งมีสารซาโปนินอยู่ เข้าทางจมูก ทำให้เกิดอาการระคายเคือง จาม ถ้าฉีดเข้ากระแสโลหิตทำให้เม็ดเลือดแดงแตก เป็นพิษมากต่อสัตว์เลือดเย็น (ใช้เบื่อปลา) ใช้เป็นยาฆ่าแมลง  แต่มีประโยชน์เป็นสารชะล้าง ใช้แทนสบู่ ใช้สระผมได้

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 56
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่