ยาดำ

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ยาดำ

ชื่อเครื่องยา ยาดำ
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
ได้จาก เคี่ยวน้ำยางสีเหลืองจากใบ
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ว่านหางจระเข้
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) ว่านหางตะเข้ ว่านไฟไหม้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aloe vera (L.) Burm.f.
ชื่อพ้อง Aloe barbadensis Mill., A. chinensis Steud. ex Baker, A. elongata Murray, A. flava Pers., A. indica Royle, A. lanzae Tod., A. perfoliata var. barbadensis (Mill.) Aiton, A. perfoliata var. vera L., A. rubescens DC., A. vulgaris
ชื่อวงศ์ Aloaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา
         ยาดำเป็นยางที่แข็งเป็นก้อน มีสีแดงน้ำตาลจนถึงดำ เปราะ ผิวมัน ทึบแสง รสขมเหม็นเบื่อ ชวนคลื่นไส้อาเจียน กลิ่นฉุน ยาดำได้จากการตัดใบว่านหางจระเข้บริเวณส่วนโคนใบที่อยู่ใกล้กับผิวดิน จะมีน้ำยางสีเหลืองที่อยู่ระหว่างผิวนอกของใบกับวุ้น ไหลออกมา รวบรวมน้ำยางสีเหลืองใส่ภาชนะ นำน้ำยางสีเหลืองที่รวบรวมได้ไปเคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ จนข้นเหนียว แล้วผึ่งแดดให้แห้ง จะแข็งกลายเป็นก้อนสีดำ

เครื่องยา ยาดำ

 

เครื่องยา ยาดำ

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล
 
สรรพคุณ:
           แก้โรคท้องผูก โดยกระตุ้นลำไส้และทางเดินอาหารให้บีบตัว ใช้เป็นยาแทรกในยาระบายหลายตำรับ จนกระทั่งมีคำพังเพยว่า “แทรกเป็นยาดำ” หมายถึงแทรกหรือปนอยู่ทั่วไป เป็นยาถ่าย ถ่ายลมเบื้องสูงลงสู่เบื้องต่ำ กัดฟอกเสมหะและโลหิต ถ่ายพิษไข้ ถ่ายพยาธิตัวตืด ไส้เดือน ขับน้ำดี มีฤทธิ์ไซร้ท้อง ฝนกับเหล้าขาวทาหัวฝี ทาแก้ฟกบวม

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ใช้เป็นยาถ่าย ยาดำขนาด 0.25 กรัม เท่ากับ 250 มิลลิกรัม (ขนาดรับประทานเท่า 1 เมล็ดถั่วเขียว) ยานี้ทำให้เกิดอาการไซ้ท้องได้ เพราะยาจะบีบลำไส้อย่างมาก

องค์ประกอบทางเคมี:
           มีสารกลุ่มแอนทราควิโนน หลายชนิด เช่น aloin, barbaloin (aloe-emodin)

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           ห้ามรับประทานมากเกินไป จะทำให้ท้องเสีย และปวดท้องอย่างรุนแรง เพราะลำไส้บิดเกร็งตัว อ่อนเพลีย ไตอักเสบ และมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆได้ หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทานเพราะทำให้แท้งได้

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา: phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง :  phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 97
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่