รากสามสิบ
ชื่อเครื่องยา | รากสามสิบ |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | ราก |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | รากสามสิบ |
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) | จ๋วงเครือ (เหนือ) ผักชีช้าง (หนองคาย) ผักหนาม (นครราชสีมา) สามร้อยราก (กาญจนบุรี) สามสิบ ชีช้าง จั่นดิน ม้าสามต๋อน |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Asparagus racemosus Willd. |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Asparagaceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
เหง้าและรากใต้ดินเป็นกระจุกคล้ายกระสวย ออกเป็นพวงคล้ายรากกระชาย อวบน้ำ เป็นเส้นกลมยาว โตกว่าเถามาก ราก มีรสเฝื่อนเย็น หวานชุ่ม
รากสามสิบ
เครื่องยา รากสามสิบ
รากสามสิบ
รากสามสิบ
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: ใช้ ราก ซึ่งมีรสเย็น หวานชุ่ม ใช้แก้กระษัย แก้ขัดเบา ขับปัสสาวะ หล่อลื่นและกระตุ้น ขับเสมหะ บำรุงเด็กในครรภ์ บำรุงตับปอด แก้ตับปอดพิการ บำรุงกำลัง แก้กระษัย ยาพื้นบ้านใช้ ทั้งต้นหรือราก ต้มน้ำดื่ม แก้ตกเลือด และโรคคอพอก ราก มีรสเฝื่อนเย็น กินเป็นยาแก้พิษร้อนในกระหายน้ำ แก้ปวดเมื่อย ครั่นตัว ฝนทาแก้พิษแมลงป่องกัดต่อย แก้ปวดฝี ทำให้เย็น ถอนพิษฝี พิษปวดแสบปวดร้อน ช่วยบำรุงเด็กในครรภ์ บำรุงตับ ปอด บำรุงกำลัง ผสมกับเหง้าขิงป่า และต้นจันทน์แดงผสมเหล้าโรงใช้เป็นยาแก้วิงเวียน ทั้งต้นหรือราก ต้มน้ำดื่ม แก้ตกเลือด และโรคคอพอก
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี: ใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยขับลม
ในประเทศอินเดีย: ใช้ราก เป็นยากระตุ้นประสาท หรือยาชูกำลัง บรรเทาอาการระคายเคือง ขับปัสสาวะ และรักษาโรคท้องเสีย
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/