ราชดัด

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ราชดัด

ชื่อเครื่องยา ราชดัด
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
ได้จาก ผลแก่
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) ดีคน (อุบลราชธานี) กะดัด ฉะดัด(ใต้) ดีคน(กลาง) กาจับหลัก ยาแก้ฮากขม(เชียงใหม่) พญาดาบหัก(ตราด) เพี้ยฟาน(นครราชสีมา ขอนแก่น) เพียะฟาน(นครศรีธรรมราช) มะลาคา(ปัตตานี) สอยดาว(จันทบุรี) เท้ายายม่อมน้อย มะขี้เหา มะดีควาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Brucea javanica (L.) Merr.
ชื่อพ้อง Brucea amarissima
ชื่อวงศ์ Simaroubaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ผลกลมเป็นพวง มีเนื้อ รูปกลม ผิวเรียบเป็นมัน ขนาดเล็ก ยาวราว 4 มิลลิเมตร ออกรวมกลุ่มกัน 1-4 ผล เปลือกผลแข็ง เมื่อผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกมีสีดำ คล้ายเมล็ดมะละกอแห้ง มีเมล็ดเดียว ผิวเรียบ สีน้ำตาล ผลแก่จัด มีรสขม เมล็ดแห้ง รสขมฝาด

 

เครื่องยา ราชดัด

 

เครื่องยา ราชดัด

 

เครื่องยา ราชดัด

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล
 
สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ใช้ ผลแก่จัด มีรสขม มีสรรพคุณแก้กระษัย บำรุงน้ำดี บำรุงน้ำเหลือง แก้ท้องอืดเฟ้อ  แก้ลมวิงเวียน แก้หาวเรอวิงเวียน แก้อาเจียน แก้เจ็บอก แก้อาเจียนเป็นเลือด เป็นยาบำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหาร ขับพยาธิ แก้โรคบิดไม่มีตัว ท้องร่วง และแก้ไข้มาลาเรีย โดยนำผลมาทุบให้เปลือกแตกต้มรับประทานครั้งละ 5 ผล เมล็ดแห้ง รสขมฝาด ใช้รักษาโรคผิวหนังจำพวกเกลื้อน โดยนำเมล็ดแห้งตำพอแหลกแล้วเอาน้ำทาบริเวณที่เป็น ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ ใช้เตรียมเป็นยาคุมธาตุ บำรุงธาตุ รักษาโรคบิดไม่มีตัว โรคพยาธิ แก้ท้องร่วง ทั้งต้นและเมล็ด รักษาไข้มาลาเรีย
           ตำรายาแผนโบราณของไทย: มีการใช้ผลราชดัดใน “พิกัดตรีทุราวสา” คือการจำกัดจำนวนตัวยาแก้มันเหลว 3 อย่างมี ผลโหระพาเทศ ผลกระวาน และผลราชดัด สรรพคุณแก้เสมหะ แก้ลม บำรุงน้ำดี แก้พิษตานซาง
           ในชวา: ใช้ เมล็ด เป็นยารักษาโรคลำไส้ ในฟิลิปปินส์ใช้ ผลสด แก้อาการปวดท้อง ในบางแห่งนำพืช ทั้งต้น มาต้มเพื่อรักษาไข้จับสั่นโดยเน้นในรักษาความผิดปกติของม้าม ประเทศจีนใช้เป็นยาขับพยาธิในท้อง และยาแก้บิด

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
           เมล็ดมีอัลคาลอยด์ brucamarine

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 7
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่