ลำดวน

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ลำดวน

ชื่อเครื่องยา ลำดวน
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
ได้จาก ดอก
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ลำดวน
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) หอมนวล (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Melodorum fruticosum Lour.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์ Annonaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ดอกสีเหลืองนวล รูปไข่ป้อมถึงรูปเกือบกลม โคนกลีบกว้าง ปลายกลีบแหลม กลีบดอก 6 กลีบ หนาแข็ง แยกเป็น 2 วง ชั้นนอกมี 3 กลีบ แผ่แบนรูปสามเหลี่ยม มีขนาดใหญ่กว่ากลีบดอกวงใน โคนกลีบกว้าง ปลายกลีบแหลม กว้างราว 1 เซนติเมตร ยาวราว 1.2 เซนติเมตร กลีบดอกชั้นในงุ้มเข้าหากันเป็นรูปโดม ขนาดเล็กกว่า แต่หนาและโค้งกว่า กว้างราว 0.6 เซนติเมตร ยาวราว 0.9 เซนติเมตร ดอกบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-2.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มีขนาดเล็ก เกสรเพศผู้และรังไข่มีจำนวนมากอยู่บนฐานสั้นๆ ดอกมีกลิ่นหอมแรง รสเย็น

 

เครื่องยา ดอกลำดวน

 

เครื่องยา ดอกลำดวน

 

เครื่องยา ดอกลำดวน

 

ดอกลำดวน

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล
 
สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ดอกลำดวน จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้ง 9 “พิกัดเนาวเกสร” ประกอบด้วย เกสรดอกบัวหลวง ดอกพิกุล ดอกสารภี ดอกบุนนาค ดอกมะลิ ดอกจำปา ดอกกระดังงา ดอกลำเจียก และดอกลำดวน มีสรรพคุณ แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ลม บำรุงหัวใจ ชูกำลัง แก้อ่อนเพลีย แก้พิษโลหิต โดยมักใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาหอม ดอกแห้ง เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้ลมวิงเวียน แก้ไอ แก้ไข้ เกสร เป็นยาชูกำลัง บำรุงหัวใจ นำมาผสมกับสมุนไพรอื่นเป็นยาบำรุงเลือด บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ และแก้ลม
           ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี: ใช้ เนื้อไม้และดอกแห้ง ต้มน้ำดื่ม ช่วยบำรุงหัวใจ แก้ลม วิงเวียน บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง แก้ไข้

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 10
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่