กล้วยน้ำว้า

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

กล้วยน้ำว้า

ชื่อเครื่องยา กล้วยน้ำว้า
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
ได้จาก ผลกล้วยน้ำว้าห่ามหรือดิบ
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา กล้วยน้ำว้า
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa x paradisiaca L. (ABB group) “kluai namwa”
ชื่อพ้อง -
ชื่อวงศ์ Musaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ผลดิบ เนื้อสีขาว เมื่อหั่น ฝานตากแดด  ให้แห้ง  แล้วบดเป็นผง  

 

เครื่องยา กล้วยดิบ

 

เครื่องยา กล้วยดิบ

 

เครื่องยา กล้วยดิบ

 

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
            ปริมาณความชื้น ไม่เกิน 10.0% w/w ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน   3.0% w/w ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 0.5% w/w ปริมาณสารสกัด ethanol ไม่ต่ำกว่า 2.0% w/w  ปริมาณสารสกัดน้ำ ไม่ต่ำกว่า 6.0% w/w (Department of Medical Sciences, 2018)


สรรพคุณ:
           ผลดิบบดเป็นผง ใช้ป้องกัน บำบัด โรคแผลในกระเพาะอาหาร  โดยจะไปกระตุ้นให้เซลล์ในเยื่อบุกระเพาะหลั่งสาร mucin ออกมาช่วยเคลือบกระเพาะ  ที่เปลือก และเนื้อมี serotonin  ช่วยยับยั้งการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ผลดิบยังใช้รักษาอาการท้องเสีย บิดมูกเลือด  การที่กล้วยสามารถแก้อาการท้องเสียได้  เพราะมีสารแทนนิน ผงกล้วยดิบทั้งเปลือกใช้โรยรักษาแผลเรื้อรัง แผลเน่าเปื่อย แผลติดเชื้อต่างๆ เปลือกผลดิบ รสฝาด สมานแผล

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ผงผลกล้วยห่าม  3-4  ช้อนชา  หรือ  5-7  กรัม  ผสมน้ำ  หรือน้ำผึ้ง  1-2  ช้อนโต๊ะ  ดื่มวันละ  4  ครั้ง  ก่อนอาหารและก่อนนอน หากรับประทานกล้วยดิบแล้ว  ถ้ามีอาการท้องอืดเฟ้อ  แก้โดยดื่มน้ำต้มขิงหรือสมุนไพรขับลมอื่นๆ

องค์ประกอบทางเคมี:
           ผลดิบมีสารแทนนิน, gallic acid, เพคติน, sitoindosides I-IV, สารกลุ่มเทอร์ปีนอยด์ ฯลฯ

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูขาวที่ถูกกระตุ้นด้วยแอสไพริน กระตุ้นการหลั่งเยื่อเมือกเพื่อเคลือบกระเพาะอาหาร

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

 

เอกสารอ้างอิง:

Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health, Thailand. 2018. Thai Herbal Compendium on physico-chemical specifications volume II. MiraCulous Company Limited:Pathumtani.

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 38
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่