ส้มโอมือ
ชื่อเครื่องยา | ส้มโอมือ |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | ส้มมือ |
ได้จาก | ผล |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | ส้มโอมือ |
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) | |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Citrus medica L. |
ชื่อพ้อง | Aurantium medicum (L.) M. Gómez, Citrus alata (Tanaka) Yu.Tanaka, , C. balotina Poit. & Turpin, C. bicolor Poit. & Turpin, C. bigena Poit. & Turpin, C. cedra Link, C. cedrata Raf., C. crassa Hassk., C. fragrans Salisb., C. gongra Raf., C. hassaku Yu.Tanaka, C. hiroshimana Yu.Tanaka, C. kizu Yu.Tanaka, C. kwangsiensis Hu, C. limetta Risso, C. limonimedica Lush., C. lumia Risso, C. nana (Wester) Yu.Tanaka, C. odorata Roussel, C. pyriformis Hassk., C. sarcodactylus Siebold ex Hoola van Nooten, C. tuberosa |
ชื่อวงศ์ | Rutaceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
ผลรูปทรงรีขนาดใหญ่ ปลายผลเป็นแฉกงอคล้ายนิ้วมือ ผิวขรุขระเป็นมัน มีกลิ่นหอม ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลือง ไม่มีเนื้อผล และเมล็ด เนื้อภายในผลมีสีขาวคล้ายเปลือกส้มโอ อ่อนนุ่มและยืดหยุ่นได้ เครื่องยามีรสชาติหวานเล็กน้อย ขม และเผ็ดร้อน
เครื่องยา ผิวส้มโอมือ
เครื่องยา ผิวส้มโอมือ
ส้มโอมือ
ส้มโอมือ
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
เภสัชตำรับจีน กำหนดปริมาณน้ำไม่เกิน 15% v/w, ปริมาณสิ่งสกัดด้วยเอทานอลไม่น้อยกว่า 10% w/w , ปริมาณสาร naringin ไม่น้อยกว่า 2.5% w/w , hesperidin ไม่น้อยกว่า 0.03% w/w
สรรพคุณ:
ผิวผล มีน้ำมันหอมระเหย ใช้เปลือกแห้งทำยาดมส้มมือ
ตำรายาไทยผิวส้มมือจัดอยู่ใน “เปลือกส้ม 8 ประการ” ประกอบด้วย ผิวส้มเขียวหวาน ผิวส้มจีน ผิวส้มซ่า ผิวส้มโอ ผิวส้มตรังกานู ผิวมะงั่ว ผิวมะกรูด และผิวมะนาว (หรือผิวส้มโอมือ)มีสรรพคุณแก้ลมกองละเอียด กองหยาบ แก้เสมหะโลหะ ใช้ปรุงยาหอม แก้ทางลม
สารานุกรมสมุนไพรไทยจีน ใช้ผลและดอก รสเผ็ดขมเปรี้ยว เป็นยาร้อนเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อตับและกระเพาะ ใช้เป็นยาขับลม แก้ปวดท้อง ปวดกระเพาะ แก้ท้องอืดเฟ้อ จุกเสียด อาหารไม่ย่อย แก้คลื่นไส้อาเจียน ไอ หืดหอบ ใช้ละลายเสมหะ แก้วิงเวียนศรีษะ
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
สารานุกรมสมุนไพรไทยจีน ใช้ดอกครั้งละ 3-6 กรัม ราก ครั้งละ 10-15 กรัม ผลแห้งครั้งละ 3-10 กรัม ต้มน้ำรับประทาน หรือเข้ากับตำรับยาอื่น
แก้ลมคั่งค้างในกระเพาะอาหาร ใช้ผลสด 12-15 กรัม หรือผลแห้ง 6 กรัม แช่ในน้ำร้อน หรือชงน้ำรับประทาน
ขนาดการใช้ทั่วไป กำหนดในเภสัชตำรับจีนเท่ากับ 3-10 กรัม
องค์ประกอบทางเคมี:
ผลพบน้ำมันหอมระเหย limettin, citropten สารอื่น เช่น diosmin, hesperidin, วิตามินซี เป็นต้น
ข้อควรระวัง:
ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ หรือมีไข้ตัวร้อนห้ามรับประทาน
ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/