สะบ้า

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

สะบ้า

ชื่อเครื่องยา สะบ้า
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา สะบ้ามอญ
ได้จาก เมล็ด
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา สะบ้า
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) สะบ้ามอญ สะบ้าใหญ่ สะบ้าหลวง มะบ้าหลวง มะนิม หมากงิม บ้า ย่านบ้า สะบ้าหนัง สะบ้าแฝก กาบ้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Entada rheedii Spreng.
ชื่อพ้อง Adenanthera gogo Blanco, Entada gogo (Blanco) I.M.Johnst., E. monostachya DC., E. pursaetha DC., E. pusaetha DC. [Spelling variant], E. rheedei Spreng. [Spelling variant], E. scheffleri Ridl., Mimosa entada
ชื่อวงศ์ Mimosaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เป็นพืชจำพวกเถา มีฝักขนาดใหญ่มาก ฝักแบนยาวมีรอยคอดตามแนวเมล็ดกลมๆ กว้าง 3-5 นิ้ว ยาว 2-4 ฟุต เมล็ดในกลมแบนหนา กว้างประมาณ 1.5-2 นิ้ว  เปลือกเมล็ดแก่หนาแข็ง มีสีน้ำตาลแดง ลักษณะเมล็ดกลม แบน ขนาดใหญ่ เนื้อในเมล็ดสีขาวนวลแข็งมาก เมล็ดมีรสเมาเบื่อ


 

ฝักสะบ้ามอญ

 

เครื่องยา เมล็ดสะบ้า

 

เครื่องยา ลูกสะบ้า

 

เครื่องยา ลูกสะบ้า

 

เครื่องยา ลูกสะบ้า

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล
 
สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: เมล็ดมีรสเมาเบื่อ เนื้อในเมล็ด ใช้ปรุงยาทาแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน แก้พยาธิ แก้มะเร็ง คุดทะราด ฆ่าเชื้อโรคผิวหนัง แก้หืด แก้เกลื้อน แก้กลาก ใช้เมล็ดในสุมให้ไหม้เกรียมปรุงเป็นยารับประทาน แก้พิษไข้ตัวร้อน แก้ไข้ที่มีพิษจัดและเซื่องซึม เนื้อในเมล็ดคั่วให้สตรีท้องคลอดกินจะทำให้คลอดง่าย ตำรายาพื้นบ้านมุกดาหาร ใช้รักษาแผลฝีหนอง
           ตำรายาพื้นบ้าน: ใช้น้ำมันจากลูกสะบ้า โดยนำเนื้อในมาเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว บอนท่า และกำมะถัน ใช้ทารักษาโรคผิวหนังกลากเกลื้อน แก้น้ำเหลืองเสีย

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
           เมล็ดพบสาร triterpenoid entagenic acid, เมล็ดในพบสาร physostigmine

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

 

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 22
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่