หมาก
ชื่อเครื่องยา | หมาก |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | หมากเมีย |
ได้จาก | เมล็ด |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | หมาก |
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) | หมากเมีย มะ เค็ด สะลา พลา ปีแน สีซะ |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Areca catechu L. |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Palmae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
ผลรูปไข่หรือรูปกระสวย กว้างประมาณ 5 ซม. ยาวประมาณ 7 ซม. ภายในมีเมล็ดเดียว หมากดิบหรือหมากสด เปลือกผลมีสีเขียวเข้มและเมล็ดนิ่มถึงค่อนข้างแข็ง หมากแห้ง อาจทำจากหมากดิบหรือหมากแก่ก็ได้ หมากแก่เปลือกผลมีสีเขียวปนเหลืองหรือเหลืองทั้งผล เนื้อภายในมีสีน้ำตาลแดง ขนาดประมาณ 3 ซม. หมากแห้งจากหมากแก่เรียกว่า “หมากสง” หมากแห้งมีรสฝาด
เครื่องยา หมาก
เครื่องยา หมาก
เครื่องยา หมาก
เครื่องยา หมาก
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ปริมาณความชื้นไม่เกิน 12% w/w ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 2% w/w ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 2% w/w ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 1.0% w/w ปริมาณสารสกัดเอทานอลไม่น้อยกว่า 25% w/w ปริมาณสารสกัดน้ำไม่น้อยกว่า 20% w/w ปริมาณสารสกัดเฮกเซนไม่น้อยกว่า 0.5% w/w ปริมาณแอลคาลอยด์ โดยคำนวณเป็น arecoline ไม่น้อยกว่า 0.5% w/w ปริมาณแทนนินไม่น้อยกว่า 24% w/w
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: ใช้เมล็ด มีรสฝาด สมานทั้งภายในและภายนอก สมานแผลทำให้เลือดหยุดไหล และแผลหายเร็ว ทำให้เหงือกและฟันแข็งแรง รักษาอาการท้องเดิน ท้องเสีย ใช้เมล็ดยับยั้งการไหลของหนองเวลาเป็นแผล ถ่ายพยาธิในสัตว์ ทาแก้คัน แก้บิดปวดเบ่ง แก้ปวดแน่นท้อง ฆ่าพยาธิ ขับปัสสาวะ ฝนทาแผลเน่าเปื่อย แผลเป็น แก้ปากเปื่อย รักษาโรคในปาก ขับเหงื่อ เป็นยาเบื่อพยาธิตัวตืด ฆ่าพยาธิบาดแผล ขจัดรอยแผลเป็น รักษาน้ำกัดเท้า หมากสง (รสฝาดจัด) หมากแก่ แก้เสมหะในลำไส้เป็นพิษ ปิดธาตุ สมานแผล
ตำรายาพื้นบ้านล้านนา: ใช้ เมล็ด ผสมกับสมุนไพรอื่นๆ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ เมล็ดแก่ใช้ถ่ายพยาธิสุนัขและแกะ
ตำรายาพื้นบ้านนครราชสีมา: ใช้เนื้อในหมาก ถ่ายพยาธิตัวตืดในคน โดยใช้เมล็ดแห้งต้มกับน้ำดื่มขับพยาธิ
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี:
เมล็ดแก่พบอัลคาลอยด์ arecoline, arecolidine, arecaine (arecaidine), guvacine, guavacoline, isoguavacine สารกลุ่ม tannin, catechin, epicatechin
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ยับยั้งเชื้อที่ทำให้เกิดโรคฟันผุ ยับยั้งเอนไซม์ที่ใช้ในการเจริญของเชื้อโรคเอดส์ในหลอดทดลอง
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
มีรายงานความเป็นพิษของเมล็ดทำให้เกิดการก่อกลายพันธุ์ เนื้องอกและมะเร็ง พบว่าคนที่กินหมากมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งในช่องปาก