พิษนาศน์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

พิษนาศน์

ชื่อเครื่องยา พิษนาศน์
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
ได้จาก เหง้า
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา พิษนาศน์
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) แผ่นดินเย็น นมราชสีห์ น้ำนมราชสีห์ ปันสะเมา พิษหนาด สิบสองราศี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sophora exigua Craib
ชื่อพ้อง Sophora violacea var. pilosa
ชื่อวงศ์ Fabaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:

            รากมักมีขนาดใกล้เคียงกัน หลายราก กลม ค่อนข้างยาว 20-30 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 เซนติเมตร ผิวรากชั้นนอกสีออกม่วงดำ หรือสีเทาปนดำ หลุดลอกง่าย ผิวเปลือกรากชั้นในสีส้ม หรือสีน้ำตาลส้ม บริเวณผิวเปลือกรากมีลักษณะเด่นเฉพาะ  มีรอยตามขวาง สั้นๆ สีส้ม คล้ายรอยปริแตก ที่ผิวราก ตลอดความยาวของราก

 

 

เครื่องยา พิษนาศน์

 

เครื่องยา พิษนาศน์

 

 

เครื่องยา พิษนาศน์

 

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:

           ไม่มีข้อมูล

 

สรรพคุณ:

            ตำรายาไทย ราก รสจืดเฝื่อนซ่า ต้มเอาน้ำดื่ม ขับพิษภายใน ขับน้ำ แก้ฟกบวมตามข้อ ตามกล้ามเนื้อ แก้คางทูม

            ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี  ใช้  รากฝนกับน้ำดื่ม ช่วยลดไข้ในเด็ก ฝนทาแก้พิษงู (ต้องว่าคาถาด้วย) ต้มน้ำดื่ม บำรุงน้ำนม (กินมากไม่ดี) ราก ฝนน้ำทาแก้ฝี

            บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ระบุการใช้เหง้าพิษนาศน์ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ใน “ตำรับยาเขียวหอม”  สรรพคุณ บรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษหัด พิษอีสุกอีใส (บรรเทาอาการไข้จากหัด และอีสุกอีใส)

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:

         ไม่มีข้อมูล

 

องค์ประกอบทางเคมี:

        ไม่มีข้อมูล

 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

       ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

      การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดจากรากพิษนาศน์ด้วยเฮกเซน เอทิลอะซีเตต และเมทานอล ต่อเชื้อแบคทีเรีย 5 สายพันธุ์ ได้แก่ Escherichia coli O157:H7, Listeria monocytogenes, Pseudomonas aeruginosa, Salmonella typhimurium และ Staphylococcus epidermidisn  ด้วยวิธี agar diffusion ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเอทิลอะซีเตต มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Pseudomonas aeruginosa และ Staphylococcus epidermidis โดยมีค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อเท่ากับ 18.75±0.43 และ 20.00±0.50 มิลลิเมตร ตามลำดับ สารสกัดเมทานอล มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Staphylococcus epidermidis โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางการยับยั้งเท่ากับ 14.00±0.00 มิลลิเมตร เนื่องจากการติดเชื้อ P. aeruginosa อาจเป็นสาเหตุของอาการมีไข้ เจ็บคอแบบมีเสมหะเขียว การติดเชื้อแบคทีเรียสกุล Staphylococcus อาจเป็นสาเหตุของการเกิดฝีหนองได้ ผลการทดลองจึงสอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้รากพิษนาศน์ฝนน้ำดื่มรักษาอาการเป็นไข้ อมแก้เจ็บคอ และใช้รากฝนน้ำทารักษาฝี สารสกัดหยาบเอทิลอะซีเตต และสารสกัดหยาบเมทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ แต่สารสกัดหยาบเฮกเซนไม่มีฤทธิ์ดังกล่าว แสดงว่าสารออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ของรากพิษนาศน์เป็นสารที่มีขั้วปานกลาง และมีขั้วมาก (สมฤดี และคณะ, 2557)

 

 

การศึกษาทางคลินิก:

       ไม่มีข้อมูล

 

การศึกษาทางพิษวิทยา:

 

เอกสารอ้างอิง:

สมฤดี ศรีทับทิม,สุมลรัตน์ กระพี้แดง, นิคม วงศา. ฤทธิ์ทางชีวภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดพืชสมุนไพรที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย.วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต (มสด) สาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี. 2557;7(1):21-39.

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา: phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง: phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

ข้อมูลตำรับยาเขียวหอม : phar.ubu.ac.th/herb-thairemedy/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 0
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่