สันพร้าหอม
ชื่อเครื่องยา | สันพร้าหอม |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | ใบ |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | สันพร้าหอม |
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) | เกี๋ยงพาใย (เหนือ), พอกี่ (กะเหรี่ยง) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Eupatorium fortunei Turcz. |
ชื่อพ้อง | Eupatorium caespitosum Migo, Eupatorium stoechadosmum |
ชื่อวงศ์ | Asteraceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวเข้ม ปนแดง ผิวมัน แผ่นใบรูปใบหอกแคบ ปลายใบแหลมหรือมนเล็กน้อย ผิวใบเรียบ ขอบใบเรียบหรืออาจมีรอยหยักคล้ายซี่ฟัน โคนใบสอบแคบ ก้านใบสีแดงเข้ม เป็นเหลี่ยมร่อง ผิวใบด้านล่างมี 3 เส้นใบชัดเจน ใบมีกลิ่นหอมฉุน กลิ่นเฉพาะตัว
เครื่องยา สันพร้าหอม
เครื่องยา สันพร้าหอม
เครื่องยา สันพร้าหอม
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
ตำรายาไทยใบรสสุขุม แก้ไข้พิษ แก้ไข้หวัด ถอนพิษไข้ ผสมในยาแสงหมึก บรรเทาหัด อีสุกอีใส ผสมในยาเขียว และเป็นยาหอมชูกำลัง บำรุงหัวใจ ใบสดขยี้ คั้นน้ำ หรือต้มน้ำชุบผ้าก็อซปิด สมานแผล ทำให้เลือดหยุด
บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ระบุการใช้ใบสันพร้าหอม ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ใน “ตำรับยาเขียวหอม” สรรพคุณ บรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษหัด พิษอีสุกอีใส (บรรเทาอาการไข้จากหัด และอีสุกอีใส)
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ฤทธิ์ลดการกระจายของเซลล์มะเร็ง
การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดน้ำของสันพร้าหอมต่อการยับยั้งการกระจายของเซลล์มะเร็ง (metastatic) และยับยั้งการสร้างหลอดเลือดใหม่ (angiogenic potential) ที่จะนำสารอาหารไปยังเซลล์มะเร็ง (malignant tumor cells) จากการศึกษาพบว่าสารสกัดน้ำขนาด 50 mg/kg สามารถยับยั้งการกระจายตัว (metastatic) ของเซลล์มะเร็ง เมื่อทดสอบด้วยการฉีด B16F10 cells เข้าทางหลอดเลือดดำที่ผิวปอดในหนูถีบจักร (C57BL/6J mice) สามารถลดการการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งที่อยู่บนพื้นผิวปอดในหนูทดลอง รวมทั้งสามารถยับยั้งการย้ายที่ (migration) และการแทรกซึม (invasion) เข้าไปในส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ สารสกัดยังสามารถยับยั้งการสร้างหลอดเลือดใหม่จากการกระตุ้นของเนื้องอก (tumor-induced angiogenesis) ดังนั้นจากการทดลองนี้แสดงว่าสารสกัดน้ำของสันพร้าหอม มีฤทธิ์ในการควบคุมการกระจายตัว (metastatis) ของเซลล์มะเร็งได้ (Kim, et al., 2014)
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดใบด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 500 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2546)
เอกสารอ้างอิง:
1. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2546. ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยา ของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 1.โรงพิมพ์การศาสนา:กรุงเทพมหานคร.
2. Kim A, Im M, Yim N-H, Ma JY. Reduction of metastatic and angiogenic potency of malignant cancer by Eupatorium fortunei via suppression of MMP-9 activity and VEGF production. Scientific Reports. 2014;1-10.
ข้อมูลตำรับยาเขียวหอม : phar.ubu.ac.th/herb-thairemedy/