สารภี

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

สารภี

ชื่อเครื่องยา สารภี
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
ได้จาก ดอก
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา สารภี
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) ทรพี สร้อยพี สารภีแนน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mammea siamensis T. Anderson
ชื่อพ้อง Calysaccion siamense Miq.
ชื่อวงศ์ Calophyllaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:

            ดอกขนาดเล็ก ทรงกลมกลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย มีกลิ่นหอม เกสรตัวผู้สีเหลือง จำนวนมาก ดอกแห้งสีน้ำตาล กลีบเลี้ยงมี 2 กลีบ ติดทน กลีบดอกมี 4 กลีบ โค้งเป็นกระพุ้ง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตร ยาว 0.5-1.5 เซนติเมตร ดอกมีรสขมเย็น มีกลิ่นหอมเฉพาะ

 

เครื่องยา  สารภี

 

 

เครื่องยา  สารภี

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:

            ไม่มีข้อมูล

 

สรรพคุณ:

            ตำรายาไทย ดอกรสหอมเย็น เป็นยาชูกำลัง บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ใช้ทำยาหอม จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้ง 5, 7 และ 9แก้โลหิตพิการ แก้ไข้ที่มีพิษร้อน ทำให้เจริญอาหาร เกสรเป็นยาบำรุงครรภ์ ทำให้ชื่นใจ แก้ไข้

            บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ระบุการใช้ดอกสารภีร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ใน “ตำรับยาเขียวหอม”  สรรพคุณ บรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษหัด พิษอีสุกอีใส (บรรเทาอาการไข้จากหัด และอีสุกอีใส)

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:

          ไม่มีข้อมูล

 

องค์ประกอบทางเคมี:

            สารกลุ่ม 4-alkylcoumarin, 4-phenyl-coumarin หลายชนิด, สารกลุ่ม triterpenoid เช่น friedelin

 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

          ฤทธิ์ต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาว        

         การศึกษาฤทธิ์ต้านมะเร็งเลือดขาวจากดอกสารภี โดยการทดสอบในหลอดทดลองกับเซลล์มะเร็งที่แยกได้จากสมองมนุษย์ ศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง และฤทธิ์ยับยั้ง P-glycoprotein  ซึ่งเป็นโปรตีนที่ยับยั้งการขนส่งยาเคมีบำบัดผ่านไปยังเนื้องอกที่สมอง ผลการทดสอบพบว่า สารสกัดดอกสารภีด้วยเฮกเซน ที่ความเข้มข้น 10 μg/ml สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด leukemia ได้ 99±0.8% และยับยั้ง P-glycoprotein โดยมีค่า EC50 เท่ากับ 0.3 ±0.3 μg/ml  ผลการทดสอบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง 4 ชนิด ของสารกลุ่มคูมาริน ที่แยกได้จากดอกสารภี พบว่าสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งเต้านม (MDA-MB-231) เนื้องอกที่สมอง (U-251) เซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ (HCT-116) และเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (CCRF-CEM) ได้ โดยสารส่วนใหญ่ออกฤทธิ์ได้ดีกว่าสารมาตรฐาน vincristine ค่า% การยับยั้งเซลล์มะเร็งทั้ง 4 ชนิด ของสารคูมาริน mammea A/AA เท่ากับ 58.9±0.8, 27.7±3.2, 73.5±4.9, 78.1±0.8  สาร MSH1 เท่ากับ 82.4.±0.9, 78.8±1.6, 97.6±0.6, 96.0±1.1  และสารมาตรฐาน vincristine เท่ากับ 51.5±12.9, 71.0±2.5, 54.8±9.4, 44.2±8.5 ตามลำดับ (Noysang, et al., 2014)

 

การศึกษาทางคลินิก:

        ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:

        ไม่มีข้อมูล

 

เอกสารอ้างอิง:

Noysang C, Mahringer A, Zeino M, Saeed M, Luanratana O, Fricker G, et al. Cytotoxicity and inhibition of P-glycoprotein by selected medicinal plants from Thailand. J Ethnopharmacology. 2014;155:633–641.

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา  : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง             : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

ข้อมูลตำรับยาเขียวหอม          : phar.ubu.ac.th/herb-thairemedy/

 

      

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 76
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่