สารส้ม
ชื่อเครื่องยา | สารส้ม |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | หินส้ม |
ได้จาก | ธาตุวัตถุ |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | |
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) | |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
ผลึกก้อนใส หรือสีขาว มัวเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น มีรสฝาดมาก หากสะตุแล้ว จะเป็นผงสีขาว (วิธีสะตุ นำสารส้มมาบดให้ละเอียด นำมาใส่หม้อดิน เอาตั้งไฟจนสารส้มละลายฟู ขาวดี จึงยกลงจากไฟ นำไปปรุงยาได้)
เครื่องยา สารส้ม (ยังไม่ได้สะตุ)
เครื่องยา สารส้มสะตุ
เครื่องยา สารส้มสะตุ
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย รสฝาดเปรี้ยว สมานทั้งภายนอกภายใน แก้ระดูขาว แก้หนองใน และหนองเรื้อรัง ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว แก้ปอดอักเสบ ขับฟอกล้างโลหิตระดู แก้รำมะนาดเหงือกเป็นแผลบวม ทำให้ฟันมั่นคง แก้แผลในปากคอ สมานแผล ห้ามเลือดในแผลเล็ก ทำให้หนองแห้ง เป็นยากัดฝ้า ใช้ล้างหูแก้แผลในหู และหูเป็นน้ำหนวก เคยนิยมนำสารส้มมาทารักแร้เพื่อดับกลิ่น หรือใช้แกว่งในน้ำขุ่นให้ใส
บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ปรากฏการใช้สารส้มสะตุ ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในกลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ตำรับ “ยาประสะมะแว้ง” มีสรรพคุณใช้บรรเทาอาการ ไอ มีเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ขับเสมหะ
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี:
เป็นเกลือซัลเฟตของอะลูมิเนียมที่มีผลึกน้ำอยู่ด้วย มี 2 ชนิด คือ เกลือโพแทสเซียมอะลูมิเนียมซัลเฟต (K2SO4.Al2(SO4)3.24 H2O และ เกลือแอมโมเนียมอะลูมิเนียมซัลเฟต (NH4)2SO4.Al2(SO4)3.24 H2O
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
ข้อมูลตำรับยาประสะมะแว้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thairemedy/