หมากผู้หมากเมีย
ชื่อเครื่องยา | หมากผู้หมากเมีย |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | ใบ |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | หมากผู้หมากเมีย |
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) | มะผู้มะเมีย หมากผู้ ปูหมาก |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Cordyline fruticosa (L.) A.Chev |
ชื่อพ้อง | Aletris chinensis Lam., Calodracon heliconiifolia (Otto & A.Dietr.) Planch., Calodracon nobilis Planch., Calodracon sieberi (Kunth) Planch., Calodracon terminalis (L.) Planch., Convallaria fruticosa L., Cordyline amabilis Cogn. & Marchal, Cordyline baptistii Cogn. & Marchal, Cordyline cheesemanii Kirk, Cordyline dennisonii André, Cordyline densicoma Linden & André, Cordyline eschscholziana Mart. ex Schult. & Schult.f., Cordyline gloriosa Linden & André., Cordyline guilfoylei Linden ex Lem., Cordyline hedychioides F.Muell., Cordyline heliconiifolia Otto & A.Dietr.,, Cordyline hendersonii Cogn. & Marchal., Cordyline javanica Klotzsch ex Kunth., Cordyline metallica Dallière., Cordyline nobilis (Planch.) K.Koch., Cordyline reali (Linden & André) G.Nicholson, Cordyline regina Veitch ex Regel, Cordyline sepiaria Seem., Cordyline sieberi Kunth., Cordyline ti Schott., Cordyline timorensis Planch., Dianella cubensis A.Rich., Dracaena amabilis auct., Dracaena argenteostriata W.Bull., Dracaena aurora Linden & André., Dr |
ชื่อวงศ์ | Asparagaceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 5-10 ซม. ยาว 12-20 ซม. ปลายใบแหลม ก้านเป็นกาบเล็กแคบอวบยาว ใบมีหลายสี ได้แก่ สีเขียวล้วน สีแดงล้วน สีเขียวขอบสีแดงอ่อน หรือเข้ม
เครื่องยา หมากผู้หมากเมีย
เครื่องยา หมากผู้หมากเมีย
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย ใบรสจืดมันเย็น ล้อมตับดับพิษใบต้มเอาน้ำดื่ม ขับพิษไข้หัว แก้ตัวร้อน แก้ไข้หวัด แก้ร้อนในกระหายน้ำ มักใช้รวมกับใบหมากเมีย และใบมะยม แช่น้ำทิ้งไว้อาบ แก้อาการคันตามผิวหนัง และสำหรับ เด็กที่ออกไข้ออกผื่น เช่น เหือด หัด อีสุกอีใส ดำแดง แก้เม็ดผดผื่นคันตามผิวหนัง
บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ระบุการใช้ใบหมากผู้หมากเมีย ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ใน “ตำรับยาเขียวหอม” สรรพคุณ บรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษหัด พิษอีสุกอีใส (บรรเทาอาการไข้จากหัด และอีสุกอีใส)
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
การศึกษาฤทธิ์ของสาร steroidal saponins สามชนิด ที่แยกได้จากใบของหมากผู้หมากเมียในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย และศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์ การทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อโดยใช้เทคนิค microdilution method ต่อเชื้อ S. aureus ATCC 25923, E. coli ATCC 25922, P. aeruginosa ATCC 27853, E. faecalis ATCC 29212 และ C. albicans ATCC 24433 ผลการทดลองพบว่า สารทุกชนิดไม่สามารถยับยั้งเชื้อได้ที่ความเข้มข้นสูงสุด 256 มิลลิกรัม/ลิตร ยกเว้น compound ที่ 2 สามารถยับยั้งเชื้อ E. faecalis ได้ โดยมีค่า MIC เท่ากับ 128 มิลลิกรัม/ลิตร (Fouedjou, et al., 2014)
การศึกษาฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดเมทานอลของหมากผู้หมากเมีย และส่วนสกัดย่อยอื่นๆ ผลการทดลองพบว่าสารสกัดเมทานอลขนาด 500 μg/disk มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียได้ระดับปานกลางต่อเชื้อ Escherichia coli, Shigella boydii, Streptococcus pyogenes และ Staphylococcus epidermidis โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของ clear zone เท่ากับ 12, 14, 13 และ 12 มิลลิเมตร ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน kanamycin ขนาด 30μg/disk มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของ clear zone เท่ากับ 39, 38, 40 และ 32 มิลลิเมตร ตามลำดับ ส่วนสารสกัด hexane มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียได้ระดับต่ำต่อเชื้อ Escherichia coli (8 มม.), Salmonella typhi (9 มม.), shigella boydii (8 มม.) และ Shigella dysenteriae (9 มม.) ในขณะที่สารสกัด acetone และ chloroform ไม่ออกฤทธิ์ (Ahmed, et al., 2014)
ฤทธิ์ต้านเชื้อ trypanosoma
การศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ trypanosoma ของสารสกัดน้ำ และสารสกัดเอทานอล โดยทำการศึกษาในหลอดทดลอง ทดสอบฤทธิ์ต่อเชื้อ Trypanosoma evansi สายพันธุ์ Te7 ซึ่งเป็นโปรโตซัวที่พบในกระแสเลือดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ทำให้เกิดโรคทริพพาโนโซมิเอซิส หรือเซอร่า (surra) ทำให้สัตว์มีไข้ขึ้นๆลงๆ เบื่ออาหาร ซีดและผอม บวมน้ำ อาจพบดีซ่าน ทำให้สัตว์แท้ง อาการรุนแรงจะมีไข้ ตาอักเสบ หรือขุ่น ขาแข็ง หลังแข็ง คอบิด โลหิตจาง อาจตายอย่างเฉียบพลันได้ พบได้ในวัว ควาย แกะ แพะ หมา แมว หมู ฯลฯ การทดสอบโดยวัดค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อ (IC50) ผลการทดลองพบว่าสารสกัดเอทานอล มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ trypanosoma โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 7.61 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ในขณะที่สารสกัดน้ำ มีค่า IC50 เท่ากับ 48.1 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร จากการศึกษานี้สรุปว่าสารสกัดของหมากผู้หมากเมียมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อ T. evansi ได้ (Dyary, et al., 2014)
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดใบด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 4,545 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2546)
การศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์ของสารสกัดหมากผู้หมากเมียในหลอดทดลอง โดยใช้เซลล์ไตของลิง (green monkey kidney (Vero) Cells) และใช้เทคนิค MTT-cell proliferation assay kit และทำการวัดความเข้มข้นเฉลี่ยที่ทำให้เกิดพิษต่อเซลล์ (Median cytotoxic concentration : CC50) พบว่าสารสกัดน้ำ จากใบของหมากผู้หมากเมีย มีค่า CC50 เท่ากับ 1,309.01±53.81 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร และในสารสกัดเอทานอล มีค่า CC50 มากกว่า 500 ไมโครกรัม/มิลลิลิตริ (Dyary, et al., 2014)
เอกสารอ้างอิง:
1. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2546. ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยา ของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 1.โรงพิมพ์การศาสนา:กรุงเทพมหานคร.
2. Ahmed F, Das PK, Islam MA, Rahman KM, Rahman MM, Selim MST. Antibacterial activity of Cordyline terminalis. Kunth. leaves. J Med Sci. 2003;3(5-6):418-422.
3. Dyary HO, Arifah AK, Sharma RSK, Rasedee A. Antitrypanosomal and cytotoxic activities of selected medicinal plants and effect of Cordyline terminalis on trypanosomal nuclear and kinetoplast replication. Pakistan Vet J. 2014;34(4):444-448.
4. Fouedjou RT, Teponno RB, Quassinti L, Bramucci M, Petrelli D, Vitali LA, et al. Steroidal saponins from the leaves of Cordyline fruticosa (L.) A. Chev. and their cytotoxic and antimicrobial activity. Phytochemistry Letters. 2014;7:62-8.
ข้อมูลตำรับยาเขียวหอม : phar.ubu.ac.th/herb-thairemedy/