กุ่มบก

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

กุ่มบก

ชื่อเครื่องยา กุ่มบก
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
ได้จาก เปลือกต้น
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา กุ่มบก
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) ผักก่าม (อีสาน) กุ่ม ผักกุ่ม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Crateva adansonii DC.
ชื่อพ้อง Crateva guineensis Schumach. & Thonn., Crateva laeta
ชื่อวงศ์ Capparaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:

          เปลือกต้นสีเทา หรือสีน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบ หรือมีรอยแตกตามขวาง ผิวเปลือกด้านในสีขาวนวลหรือออกเหลืองอ่อน เปลือกหนา 0.5-1.0 เซนติเมตร

 

เครื่องยา เปลือกต้นกุ่มบก

 

เครื่องยา เปลือกต้นกุ่มบก

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:

         ไม่มีข้อมูล

 

สรรพคุณ:

          ตำรายาไทย เปลือกต้น มีรสร้อน แก้ปวดท้อง แก้ลงท้อง ขับผายลม ขับลมในลำไส้ แก้แน่นท้อง แก้บวม บำรุงไฟธาตุ คุมธาตุ กระตุ้นลำไส้ให้ย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ขับน้ำเหลืองเสีย รักษานิ่ว บำรุงหัวใจ ทาแก้โรคผิวหนัง เป็นยาระงับประสาท เปลือกต้นนำมานึ่งให้ร้อนใช้ประคบแก้ปวด เปลือกต้นผสมกับเปลือกต้นกุ่มน้ำ และเปลือกต้นทองหลางใบมน ต้มน้ำดื่มเป็นยาขับลม เปลือกต้นผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มเป็นยาเจริญอาหาร และยาอายุวัฒนะ

          บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการใช้กุ่มบกในตำรับ “ยาแก้ลมอัมพฤกษ์” มีส่วนประกอบของเปลือกต้นกุ่มบกร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดตามเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ มือ เท้า ตึงหรือชา

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:

  ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:

  ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

การศึกษาทางคลินิก:

  ไม่มีข้อมูล

อาการไม่พึงประสงค์:

   ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:

  ไม่มีข้อมูล

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา    : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง               : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

ข้อมูลตำรับยาแก้ลมอัมพฤกษ์  : phar.ubu.ac.th/herb-thairemedy/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 0
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่